Abstract:
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการรักษาด้วยการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการปฐมภูมิจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในด้านความคิดเห็นต่อการรูปแบบการจัดบริการ สาเหตุของการใช้-ไม่ใช้บริการแพทย์แผนไทย ความเต็มใจจ่ายเงิน ประชากรที่ศึกษาคือ ประชาชนผู้เข้ารับบริการในปี 2547 จำนวน 35 แห่ง จำนวนตัวอย่างทั้งหมด 850 คน ได้รับการตอบกลับ ของแบบสอบถาม 763 คน คิดเป็นร้อยละ 89.76 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 83.5 ไม่ใช้บริการแพทย์แผนไทยมาจากสถานบริการของรัฐมิการเปิดให้บริการน้อย กลุ่มที่ใช้บริการ ร้อยละ 88.9 เห็นว่าการแพทย์แผนไทยเป็นการรักษาที่ช่วยผ่อนคลายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 37.4 ต้องการให้เปิดบริการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการปฐมภูมิ ร้อยละ 50.9 ควรมีการนวด การอบ การประคบ รักษาด้วยยาสมุนไพรครบถ้วน ร้อยละ 45.0 เห็นว่าควรมีบุคลากรด้านแพทย์แผนไทยเป็นผู้ดูแลอย่างไกล้ชิด และร้อยละ 42.6 ต้องการจ่ายเงินค่ารักษาในราคา 30 บาท เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นพบว่าด้านความต้องการบริการมีความสัมพันธ์กับรายได้อย่างมินัยสถิติ (p<0.041) ด้านรูปแบบการจัดบริการและ ด้านการเงิน มิความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างมินัยสถิติ (p<0.002) และ (p<0.001) ด้านบุคลากรพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยใดๆ (p>0.05) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ควรมิการศึกษาเพิ่มเติมในด้านของเจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไปเพี่อนำมาประกอบการพิจารณนาตัดสินในการเปิดให้บริการการแพทย์แผนไทยในหน่วยบริการปฐมภูมิของรัฐ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล