DSpace Repository

การปลดจากล้มละลายของบุคคลธรรมดา

Show simple item record

dc.contributor.advisor มานิตย์ จุมปา
dc.contributor.advisor สุธีร ศุภนิตย์
dc.contributor.author สรินยา ลิ่มวณิชสินธุ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-27T03:52:21Z
dc.date.available 2020-05-27T03:52:21Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741746202
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66030
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การปลดบุคคลจากล้มละลายเป็นการให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้สินบางส่วน อันจะส่งผลให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระในหนี้ที่หลุดพ้นนั้น ดังนั้น มาตรการทางกฎหมายในเรื่องนี้จึงมีจุดสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การรักษาสมดุลระหว่างการให้ประโยชน์แก่ลูกหนี้ผู้สุจริตกับการคุ้มครองเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรม ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ. ศ. 2542 มาตรา 35 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการให้บุคคลธรรมดาพ้นจากล้มละลายโดยอัตโนมัติไว้เพียงมาตราเดียว และไม่มีบทบัญญัติหลักเกณฑ์อื่นมารองรับ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนและเกิดปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการ จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด หลักการ ตลอดจนระบบที่ดีของการปลดจากล้มละลายตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อค้นหาแนวทางในการปลดจากล้มละลายที่เหมาะสม โดยมุ่งหมายให้การปลดจากล้มละลายเป็นรางวัลแก่ลูกหนี้ผู้สุจริต จากการศึกษาพบว่าหลักการปลดจากล้มละลายโดยคำสั่งศาลและการปลดจากล้มละลาย โดยผลของกฎหมายตามกฎหมายไทย มีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในการนำมาใช้ เพียงแต่มีรายละเอียดบางประการที่ควรแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้บทบัญญัติดังกล่าวซัดเจนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนวทางในการแกใข ดังนี้ 1. ควรเพิ่มเติมพฤติการณ์ที่ถือว่าลูกหนี้ไม่สุจริตเข้าไว้ในนิยามของ “บุคคลล้มละลายทุจริต’' 2. ควรเพิ่มเติมเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้หยุดนับระยะเวลาการปลดจากล้มละลาย โดยกำหนดข้อเท็จจริงไว้หลายประการตามลักษณะความร้ายแรงของพฤติกรรมของลูกหนี้
dc.description.abstractalternative Personal discharge from bankruptcy releases a debtor from certain liabilities, causing the creditors cannot take action against such dischargeable debts. Therefore, main concern for legal measure on the discharge is to balance between the benefits of the honest debtor and the protection of the creditors to receive a fair repayment. Only Section 35 of the Bankruptcy Act (No. 5) B.E. 2542 stipulates criteria for automatic personal discharge, without any other supporting Sections, causing uncertainty and problems to the management of the debtor's estate. The purpose of this study is to examine proper concepts, principles and systems of discharge from bankruptcy under the Thai laws and foreign laws, in order to find proper ways of discharge to reward the honest debtor. The study found that the principle of discharge by court order, and by the effect of the Thai law is appropriate to implementation. However, certain details should be amended or added for better clarification. This thesis suggests following amendment: 1. To clarify the debtor’s acts that shall be deemed dishonesty in the definition of “dishonest persons in bankruptcy” 2. To add causes allowing the receivers to file to suspend counting the period entitling to discharge by specifying various facts depending on serious manners of the debtor.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ล้มละลาย en_US
dc.subject Bankruptcy en_US
dc.title การปลดจากล้มละลายของบุคคลธรรมดา en_US
dc.title.alternative Personal discharge from bankruptcy en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Manit.J@Chula.ac.th,Manit_J@yahoo.com
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record