Abstract:
ปัจจุบันการกระทำความผิดอาญาอันเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ประเทศชาติขาดรายได้ที่ควรจะได้นั่นคือการหลีกเลี่ยงภาษีอากรของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีหรือการที่รัฐต้องคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ตรงกับความเป็นจริงให้แค่ผู้กระทำความผิดที่กระทำการฉ้อโกงเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากรัฐทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่การบังคับใช้กฎหมายและการแสวงหาพยานหลักฐานเพื่อดำเนินการกับผู้กระทำความผิดเหล่านี้ไม่ ประสบผลสำเร็จที่จะสามารถสาวไปถึงผู้กระทำความผิดที่อยู่เบื้องหลังได้เนื่องจากขาดพยานหลักฐาน วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงมีแนวความคิดที่จะนำวิธีการต่อรองคำรับสารภาพดังเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกามาปรับใช้เพื่อเป็นมาตรการในการแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานในการปราบปรามการกระทำความผิดอาญาอันเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย ทั้งนี้ภายในขอบเขตเฉพาะการดำเนินคดีอาญาในความผิดดังกล่าวในชั้นค่อนฟ้องคดีและเท่าที่ไม่ขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 135, มาตรา 226 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 243 วรรคสองโดยให้ผู้กระทำความผิดเป็นฝ่ายสมัครใจร้องขอทำความตกลงต่อรองคำรับสารภาพกับพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ และผู้กระทำความผิดที่สมัครใจรับสารภาพดังกล่าวก็จะได้รับประโยชน์จากการรับสารภาพนั้นด้วย พร้อมทั้งได้มีการปรับปรุงกฎหมายในส่วนของการให้เจ้าหน้าที่สรรพากรมีอำนาจสอบสวนในความผิดอาญาอันเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวด้วยทั้งนี้เพื่อให้ผู้กระทำความผิดตัดสินใจที่จะเลือกให้การรับสารภาพและมีความ นั่นใจในประโยชน์ที่จะได้รับจากการสมัครใจรับสารภาพนันมากยิ่งขึ้น การนำวิธีการต่อรองคำรับสารภาพมาใช้ในความผิดอาญาอันเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยนี้จะทำให้ได้ประโยชน์ในด้านพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับตัวการที่อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความรวดเร็วในการ ดำเนินคดีอันทำให้รัฐประหยัดงบประมาณในการบริหารงานคดีในความผิดอาญาอันเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มและทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีดังกล่าวในส่วนที่ควรจะจัดเก็บได้มากยิ่งขึ้น