Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงเสรีภาพทางวิชาการตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โดยศึกษาจากหลักเกณฑ์และสาระสำคัญของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศึกษาถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และมีผลต่อการกล่าวอ้างเสรีภาพทางวิชาการ ผลการศึกษาพบว่าเสรีภาพทางวิชาการมีแนวความคิดตามกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหลักการสากลในการรับรองและคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน โดยเสรีภาพทางวิชาการเป็นเสรีภาพทางความคิดและความเชื่อตามหลักวิชาการ ดังนั้นเสรีภาพทางวิชาการจึงมุ่งที่จะให้การรับรองและ คุ้มครองกระบวนการแสวงหาความจริงในศาสตร์แห่งความรู้ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์หรือสังคมศาสตร์อย่างเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นลักษณะศาสตร์บริสุทธิ์ที่เป็นรูปธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ แต่มีข้อจำกัดในเรื่องศักดิศรีความเป็นมนุษย์สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 28 และมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ส่วนเสรีภาพทางวิชาการด้านสังคมศาสตร์นั้นไม่ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยเด็ดขาดตามรัฐธรรมนูญและอาจถูกจำกัดได้เฉพาะเท่าที่เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญกำหนดตามมาตรา 28 และมาตรา 42 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสังคมศาสตร์มีลักษณะเป็นนามธรรมและไม่ถือว่าเป็นศาสตร์ที่บริสุทธิ์เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ อีกทั้งไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนในการกำหนดและ พิสูจน์จึงอาจมีอคติ ทำให้ผลงานทางวิชาการคลาดเคลื่อนไปได้ ดังนั้น เสรีภาพทางวิชาการจึงเป็นเสรีภาพที่สำคัญประการหนึ่งของประชาชนในการแสวงหาความรู้ และแสดงออกถึงความรู้ดังกล่าวในทางวิชาการ การที่รัฐธรรมนูญได้รับรองและคุ้มครองเสรีภาพทางวิชาการไว้จึงถือเป็นการรับรองเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย