DSpace Repository

ปริมาณเซลลูโลสในผนังเซลล์สาหร่ายกลุ่มคลอโรไฟต์และสเตรปโตไฟต์บางชนิด

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัญชิษฐา สัจจารักษ์
dc.contributor.author กาญจนา เรือนผาม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-30T14:46:10Z
dc.date.available 2020-05-30T14:46:10Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66077
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract ผนังเซลล์เป็นลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในกลุ่มสิ่งมีชีวิตบางกลุ่ม เช่น สิ่งมีชีวิตในกลุ่ม Viridiplantae ซึ่งประกอบด้วยสาหร่ายกลุ่มคลอโรไฟต์และกลุ่มสเตรปโตไฟต์ โดยผนังเซลล์ของ Viridiplantae นั้นประกอบด้วยสารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบหลัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ข้อมูลปริมาณองค์ประกอบของมวลชีวภาพที่เป็นเซลลูโลสของสาหร่ายกลุ่มคลอโรไฟต์และ สาหร่ายกลุ่มสเตรปโตไฟต์ยังขาดแคลน งานวิจัยนี้จึงศึกษาปริมาณองค์ประกอบของมวลชีวภาพสาหร่ายทั้งสองกลุ่ม เพื่อศึกษาปริมาณองค์ประกอบของของมวลชีวภาพที่เป็นเซลลูโลสของสาหร่ายกลุ่มคลอโรไฟต์ ได้แก่ Cladophora sp., Oedogonium sp., Microspora sp., Pithophora sp. และสาหร่าย กลุ่มสเตรปโตไฟต์ ได้ แก่ Spirogyra sp. และ Nitella sp. โดยใช้ วิธี 1) การย้อมด้วยสีย้อม Calcofluor white 2) การวิเคราะห์หาปริมาณองค์ประกอบของมวลชีวภาพสาหร่าย และ 3) การวิเคราะห์ ทรานสคริปโตม (transcriptome) ผลการย้อมด้วย Calcofluor white และการวิเคราะห์องค์ประกอบของ ชีวมวลสาหร่ายพบว่าสาหร่ายทั้งหกชนิดมีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการ วิเคราะห์ทรานสคริปโตมของสาหร่ายดังกล่าวที่พบยีนส์ที่ทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างที่ใช้สังเคราะห์เซลลูโลส และจากการวิเคราะห์มวลชีวภาพของสาหร่ายทั้งห้าชนิด พบว่า Cladophora sp. เป็นสาหร่ายที่มีมวลชีวภาพที่เป็นเซลลูโลสปริมาณมากที่สุดซึ่งเท่ากับ 34.92% ของมวลชีวภาพ en_US
dc.description.abstractalternative Cell wall plays significant role in Viridiplantae as it is one of the major cell components giving strength to plant cells. The main component of plant cell wall is cellulose. However, the knowledge of the cell wall component of Viridiplantae, the group of green organisms that consists of two main lineages – chlorophyte algae and streptophytes, is limited. To obtain more information of the main component of the cell wall namely cellulose, we investigated the presence and the content of cellulose present in cell walls of six green algae – Cladophora sp., Oedogonium sp., Microspora sp. and Pithophora sp. (chlorophyte algae) and Spirogyra sp. and Nitella sp. (streptophyte algae) using three techniques including 1) Calcofluor white staining, 2) biomass analyses, and 3) transcriptome analyses. Results from microscopic and biomass analyses showed that cellulose was present in cell wall of the six algae, which was congruent with results from transcriptome analyses where we found putative gene sequences that might be encoding for cellulose synthesizing complexes. In addition, of all five algae, Cladophora sp. had the highest cellulose content in the cell wall, which was equal to 34.92% of its biomass. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title ปริมาณเซลลูโลสในผนังเซลล์สาหร่ายกลุ่มคลอโรไฟต์และสเตรปโตไฟต์บางชนิด en_US
dc.title.alternative Cellulose content of cell wall of some chlorophyte and streptophyte algae en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Anchittha.S@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record