DSpace Repository

ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ในเขตการศึกษาที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor อัมพล สูอำพัน
dc.contributor.advisor อลิสา วัชรสินธุ
dc.contributor.author ภวดี ลิขิตวงษ์, 2520-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial กรุงเทพฯ
dc.date.accessioned 2020-05-30T17:41:12Z
dc.date.available 2020-05-30T17:41:12Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.issn 9745311332
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66080
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคของวัยรุ่นตอนต้น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ เจตคติ พฤติกรรม การบริโภค ภาวะโภชนาการ และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ Multiple Cluster Sampling ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม 1 ชุด แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความรู้ ส่วนที่ 3 แบบสอบถาม เจตคติ และ ส่วนที่ 4 แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภค สถิติที่ใช้เป็นสถิติเซิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าตํ่าสุด และสถิตเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, Chi square One-way ANOVA Scheffe's method และ Multiple regression Analysis ผลการศึกษาพบว่า ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ ร้อยละ 66.6 เจตคติเกี่ยวกับโภชนาการ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 78.1 พฤติกรรมการบริโภค อยู่ในระดับค่อนข้างดี ร้อยละ 63.5 ภาวะ โภชนาการ อยู่ในเกณฑ์ผอมร้อยละ 49 เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ย ความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภคภาวะโภชนาการกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ปัจจัย เพศ อายุ การได้รับความรู้การบริโภคจาก นิตยสาร เพื่อน หนังสือพิมพ์ บุคลากรทางการแพทย์ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับประทานอาหารคือ วิทยุ โทรทัศน์ ราคา ความสะอาด เพื่อน สมาชิกในครอบครัวรับประทานร่วมกัน กลุ่มเพื่อนมีผลต่อการเลือกรับประทานอาหาร อาชีพของบิดามารดามีผลต่อการเลือกรับประทานอาหาร รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว รวมแหล่งการได้รับความรู้จากเรื่องการบริโภค ผู้จัดเตรียมหรือจัดรายการอาหารที่บ้าน อาหารประจำวันที่บ้านนักเรียนได้มาด้วยวิธีใด พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<0.05 และ P<0.01 ปัจจัยทำนายความรู้ เจตคติ พฤติกรรมการบริโภค ภาวะโภชนาการ ได้แก่ เพศ อายุ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคจากนิตยสารหนังสือพิมพ์ สิ่งที่มีผลต่อการเลือกรับประทานอาหารคือราคา ความสะอาด เพื่อน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว สมาชิกในครอบครัวรับประทานร่วมกัน กลุ่มเพื่อนมีผลต่อการเสือกรับประทานอาหาร ผู้จัดเตรียม หรือจัดรายการอาหาร อาหารประจำวันที่บ้านได้มาด้วยวิธี สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรตาม ( R )2 ร้อยละ 9.2, 14.2, 8.6 และ 1.3 ตามลำดับ
dc.description.abstractalternative This research is a descriptive cross-sectional study. The purpose of the research was to examine knowledge, attitude and consumption behavior to nutritional status of early adolescence in educational section II in Bangkok. 392 subjects were randomly selected using Multiple-stage Cluster Sampling. The instrument was a set of questionnaires that consisted of 4 parts : demographic questionnaires use for collecting background information 1 questionnaires about knowledge, attitude and consumption behavior to nutrition. All data were analyzed by SPSS. Descriptive statistics used consist of percentage, mean, median, standard deviation, maximum and minimum scores. Differential statistics used include t-test, chi-square, One-way ANOVA, Scheffe’s method and Multiple regression analysis. The major findings were as followed. The student scores of knowledge of nutrition in fairly good level were 66.6%. Attitude of nutrition in good level was 78.1%. Consumption behavior in fairly good was 63.5%. Nutrition score in lower standard was found 49% in of students comparing level means of knowledge, attitude and consumption behavior to nutrition reveal that factors that were associated with nutritional status statistical significant level at p<0.05 and p<0.01 are sex, age, peer, media, cleanliness and total income of family. Using Multiple regression analysis for knowledge, attitude and consumptions behavior from revealed that factors to sex, age, knowledge magazine and newspaper, cost, cleanliness, peer, total income of family, paticipitation at meal time and preparing food by family with predicative value of knowledge, attitude, consumptions behavior to nutrition were 9.2, 14.2, 8.6, 1.3, percent orderly.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บริโภคกรรม en_US
dc.subject พฤติกรรมผู้บริโภค en_US
dc.subject โภชนาการ en_US
dc.subject วัยรุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject Consumer behavior en_US
dc.subject Nutrition en_US
dc.subject Adolescence -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.title ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริโภคต่อภาวะโภชนาการของเด็กวัยรุ่นตอนต้น ในเขตการศึกษาที่ 2 ของกรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative Knowledge, attitude and consumption behavior to nutrition status of early adolescence in educational section II in Bangkok en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สุขภาพจิต en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Umpon.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor Alisa.W@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record