Abstract:
ในปัจจุบันผู้คนมีการใช้สื่อสังคมเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทวิตเตอร์ซึ่งเป็นสื่อสังคมอิสระที่ให้ผู้ใช้งานสามารถแสดงความคิดเห็น ประสบการณ์หรือความรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ รวมไปถึงการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ก็สามารถทำได้ง่าย ทำให้ผู้ใช้งานสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาช่วยในการตัดสินใจได้ ตัวอย่างเช่นการนำข้อมูลบนทวิตเตอร์มาช่วยในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของสถานที่ท่องเที่ยวนั้น ๆ การวิเคราะห์ความรู้สึกของผู้สื่อสารผ่านสื่อสังคม จะสามารถนำมาใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงธุรกิจในการพัฒนาและปรับปรุงสถานที่ท่องเที่ยวนั้นต่อไปได้ ซึ่งข้อมูลที่อยู่บนทวิตเตอร์จะมีทั้งข้อความ อิโมจิ และรูปภาพ ผู้จัดทำได้เห็นถึงความสำคัญของอิโมจิที่มีการใช้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ว่าผู้ที่แสดงความคิดเห็นนั้นมีความรู้สึกอย่างไร แต่ก็ยังมีผู้นาอิโมจิมาวิเคราะห์ไม่มากนัก ผู้จัดทาจึงได้พัฒนาระบบวิเคราะห์ความรู้สึกจากอิโมจิเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของผู้ใช้ทวิตเตอร์ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรู้สึกของผู้ใช้งานทวิตเตอร์ออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ความรู้สึกเชิงบวก ความรู้สึกเชิงลบ และความรู้สึกเป็นกลาง ขั้นตอนการพัฒนาระบบประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ การรวบรวมข้อความทวีตจากทวิตเตอร์ การเตรียมข้อมูลสำหรับการนำไปวิเคราะห์ การเตรียมชุดข้อมูลสำหรับการนำไปวิเคราะห์ และการวิเคราะห์ความรู้สึกจากอิโมจิ จากนั้นผู้จัดทำจะเก็บผลการวิเคราะห์ไว้ในฐานข้อมูลเพื่อให้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์และจำแนกข้อความทวีตรวมกับข้อมูลประเภทอื่น ๆ และนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยต่อไป