Abstract:
ก๊าซที่ละลายในน้ำสามารถระเหยหรือปรับเข้าสู่สมดุลใหม่กับบรรยากาศได้ การเก็บน้ำ ตัวอย่างจากแหล่งน้ำธรรมชาติไปยังห้องปฏิบัติการอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการวิเคราะห์ ปริมาณก๊าซที่ละลายในน้ำ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของแสงแดด ความดัน หรืออุณหภูมิ การตรวจวัดก๊าซที่ ละลายน้ำในสถานที่จริงจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้นขั้วทางเคมีไฟฟ้าจึงถูกออกแบบมาสำหรับตรวจวัด ก๊าซที่ละลายในน้ำแนวลึก ในการศึกษาเบื้องต้นนี้ ทำการออกแบบและสร้างขั้วไฟฟ้าแบบแท่ง 3 ชนิด ได้แก่ ขั้วไฟฟ้าทำงานชนิดทองคำ ขั้วไฟฟ้าอ้างอิงชนิดซิลเวอร์-ซิลเวอร์คลอไรด์ และขั้วไฟฟ้าช่วยชนิดแพลทินัม ทดสอบการใช้งานด้วยเทคนิคไซคลิกโวลแทมเมตรี ผลการทดลองแสดงด้วยโวลแทมโมแกรมของสารละลาย มาตรฐานโพแทสเซียมเฮกซะไซยาโนเฟอร์เรต (III) เข้มข้น 5 มิลลิโมลาร์ ที่ทำการตรวจวัดด้วยขั้วไฟฟ้า ประดิษฐ์พบสัญญาณไฟฟ้าที่มีลักษณะผันกลับได้ เช่นเดียวกับที่วัดได้โดยใช้ขั้วไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม พบการเลื่อนของตำแหน่งโวลแทมโมแกรม เนื่องจากขั้วไฟฟ้าอ้างอิงที่ไม่เหมือนกัน ผลของวัสดุและการ ออกแบบของขั้วไฟฟ้าทำงานชนิดทองคำพบว่า ชนิดของสายไฟ ส่งผลน้อยต่อสัญญาณไฟฟ้าที่วัดได้ ในขณะที่ ความยาวของสายไฟมีผลต่อการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้า ในขั้นตอนการทำขั้วไฟฟ้า ฟองอากาศในกาว อีพ็อกซี่ส่งผลทำให้ความสูงของค่ากระแสไฟฟ้าลดลง และผิวหน้าของลวดทองคำบนขั้วไฟฟ้าทำงานเป็นปัจจัย สำคัญที่มีผลต่อรูปร่างหรือการผันกลับได้ของโวลแทมโมแกรม การเฉือนผิวหน้าเก่าของลวดทองคำออก เพื่อ เปิดผิวหน้าทองคำใหม่ สามารถปรับปรุงสัญญาณได้ ถึงแม้จะไม่ได้สัญญาณที่ดีขึ้นเสมอไปก็ตาม