Abstract:
งานวิจัยนี้ได้ทาการสังเคราะห์เอซาโบดิพีที่เชื่อมต่อกับพอร์ไฟริน โดยสามารถสังเคราะห์ BF₂ chelate of 5-(4-bromophenyl)-N-(5-(4-bromophenyl)-3-(4-(dodecyloxy)phenyl)-2H-pyrrol-2-ylidene)-3-(4-(dodecyloxy)phenyl)-1H-pyrrol-2-amine (สาร 5) มีค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 668 นาโนเมตร สามารถดูดกลืนแสงได้ดีในช่วงแสงสีเขียว ส่วน [5,10,15,20-Ethynylporphinato] zinc(II) (สาร 8) ที่สังเคราะห์ได้มีค่าการดูดกลืนแสงที่ดีที่ความยาวคลื่น 452 นาโนเมตร และมีค่าการดูดกลืนแสงรองลงมาที่ความยาวคลื่น 597 และ 642 นาโนเมตร สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ทางโครงสร้างของสารโดยอาศัยเทคนิคโปรตอนเอ็นเอ็มอาร์สเปกโทรสโกปี นอกจากนี้ยังได้ทาการวิเคราะห์สมบัติเชิงแสงเบื้องต้นโดยเทคนิคยูวี-วิซิเบิลสเปกโทรสโกปี เนื่องจากพอร์ไฟรินดูดกลืนแสงได้น้อยในช่วงแสงสีเขียว (500-600 นาโนเมตร) ดังนั้นเมื่อทาการเชื่อมต่อพอร์ไฟริน (สาร 8) เข้ากับเอซาโบดิพี (สาร 5) ผลิตภัณฑ์ที่ได้เมื่อนาไปพิสูจน์ด้วยเทคนิคโปรตอนเอ็นเอ็มอาร์สเปกโทรสโกปี พบว่าพีคที่เกิดขึ้นมีแค่พีคของตัวเอซาโบดิพี ไม่พบพีคของพอร์ไฟริน ซึ่งจากสภาวะการทดลองที่ได้ทดลองไปพบว่าไม่เกิดผลิตภัณฑ์ หากมีโอกาสในภายภาคหน้าควรทาการทดลองในสภาวะที่มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมที่จะได้ผลิตภัณฑ์ที่จะสามารถนาไปประยุกต์ใช้กับเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสง