Abstract:
การตรวจสอบความสดของไข่ไก่เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการควบคุมคุณภาพของไข่ไก่ วิธีมาตรฐานในการตรวจสอบความสดของไข่ไก่จะดูจากค่าหน่วยฮอก (haugh unit) ที่คำนวณได้จากความสูงของไข่ขาวบริเวณรอบๆ ไข่แดงและน้าหนักของไข่ไก่ แต่วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการตรวจสอบที่ทำลายตัวอย่างจึงไม่สามารถใช้ตรวจสอบไข่ไก่ได้อย่างทั่วถึง งานวิจัยนี้สนใจที่จะประยุกต์ใช้เทคนิคเนียร์อินฟราเรดรูปแบบดิฟฟิวรีเฟล็กชั่นร่วมกับเทคนิคทางสถิติเคโมเมทริกซ์ มาใช้ในการทำนายค่าหน่วยฮอกของไข่ไก่ โดยจะศึกษาผลกระทบของตำแหน่งในการวัดสัญญาณ NIR สเปกตรัม จำนวนวันที่เก็บไข่ไก่ (0-28 วัน) และอุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บไข่ไก่ (4˚C และ 25˚C) พบว่าการทำนายค่าหน่วยฮอกของไข่ไก่จากข้อมูล NIR สเปกตรัมที่ผ่านการปรับข้อมูลด้วยเทคนิค standard normal variate (SNV) และสร้างสมการสอบเทียบด้วยเทคนิค partial least square (PLS) มีความผิดพลาด root mean square error (RMSE) เท่ากับ 0.1830 และ 0.1761 หรับไข่ไก่ที่เก็บที่อุณหภูมิที่ 4˚C และ 25 ˚C ตามลำดับและมีค่า R² ในไข่ไก่ที่เก็บที่อุณหภูมิ 4˚C และ 25 ˚C เท่ากับ 0.9994 และ 0.9999 ตามลำดับ โดยตำแหน่งการวัดสเปกตรัมที่ให้ผลการทำนายดีที่สุดคือตำแหน่งของไข่ไก่ด้านทู่