Abstract:
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำสาหร่ายทะเลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยการนำสาหร่าย 3 ชนิด ได้แก่ สาหร่ายไส้ไก่ สาหร่าย Chaetomorpha และ สาหร่ายผมนาง มาสกัดหยาบด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 3 วิธี ได้แก่ Hot water extraction, Enzymes-assisted extraction(EAE) และ Ultrasound-assisted extraction(UAE) เพื่อศึกษาอิทธิพลของวิธีการสกัดที่มีต่อผลผลิตร้อยละของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายแต่ละชนิด สมบัติการต้านอนุมูลอิสระ และสมบัติความเป็นพรีไบโอติก จากการศึกษา พบว่า วิธีการสกัดโดยใช้เอนไซม์ Cellulase ช่วยในการสกัด เป็นวิธีที่ได้ผลผลิตร้อยละเฉลี่ยสูงที่สุด และการสกัดด้วย UAE จะเป็นวิธีการที่ได้ผลผลิตร้อยละเฉลี่ยต่ำที่สุด ในการศึกษาสมบัติการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP โดยมี ascorbic acid เป็นสารมาตรฐาน พบว่าวิธีการสกัดมีอิทธิพลต่อสมบัติการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากสาหร่ายChaetomorpha และ สาหร่ายผมนาง แต่ไม่มีอิทธิผลต่อสมบัติการต้านอนุมูลอิสระอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)ในการสกัดสาหร่ายไส้ไก่ พบว่าการสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ด้วยวิธี UAEจากสาหร่ายผมนาง จะมีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด เมื่อวัดด้วยวิธี DPPH คือ %inhibition เท่ากับ 33.01±1.80% สำหรับการวัดด้วยวิธี FRAP การสกัดพอลิแซ็กคาไรด์ด้วยวิธี EAE จากสาหร่ายผมนาง มีสมบัติการต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด คือ 72.31±0.12 μmol ascorbic acid equivalent/g จากการศึกษาสมบัติการเป็นพรีไบโอติกด้วยการหาค่า prebiotic activity score ของสารสกัดจากสาหร่ายไส้ไก่ที่สกัดด้วย UAE เมื่อนาไปเลี้ยง L.casei มีค่าเท่ากับ 0.26 แต่พบว่าไม่เหมาะสมกับ เชื้อ L. reuteri จากการวิเคราะห์ตัวอย่างที่สกัดได้จากสาหร่ายทั้ง3ชนิดด้วยFTIR พบว่าสารสกัดเป็นพอลิแซ็กคาไรด์