dc.contributor.advisor |
ประนอม รอดคำดี |
|
dc.contributor.author |
ดำรงค์ศักดิ์ สงเอียด |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-06-01T12:28:37Z |
|
dc.date.available |
2020-06-01T12:28:37Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.isbn |
9741763425 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66148 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองครั้งที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าทีมของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ก่อนและหลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสัปดาห์ที่ 1 และหลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสัปดาห์ที่ 1 กับหลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสัปดาห์ที่ 4 ในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่จำนวน 30 คน ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกันพยาบาลพี่เลี้ยงที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมพยาบาลพี่เลี้ยงแล้วเป็นเวลา 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ คู่มือรูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นและได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง คือ แบบวัดความสามารถในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าทีมของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ ซึ่งสร้างโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบวัดความสามารถในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าทีของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่เท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าทีมของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ภายหลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสัปดาห์ที่ 1 สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ความสามารถในการปฏิบัติบทบาทหัวหน้าทีมของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ภายหลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสัปดาห์ที่ 4 สูงกว่าหลังการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสัปดาห์ที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this one group pretest - posttest quasi experimental research was to compare the team leader' ร role competencies before and after using nurse mentorship model for one week and four weeks. Research subjects consited of 30 new graduated nurses. New graduated nurses worked with nurse mentors who had been trained and utilized the model for 1 month. Research instruments which were developed by the researcher and tested for content validity by panel experts were nurse mentorship model and the questionnaire concerning team leader’ s role competencies. The Cronbach alpha coefficient of the questionnaire was .92. Statistical techniques used in data analysis were mean, standard deviation and t-test. Major research findings were as follows: 1. The team leader’ s role competencies of new graduated nurses in the first week after the experiment were significantly higher than before the experimental, at the .05 level. 2. The team leader’ s role competencies of new graduated nurses in the four week after the experiment were significantly higher than after the experiment in the first week, at the .05 level. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ |
en_US |
dc.subject |
พยาบาลพี่เลี้ยง |
en_US |
dc.subject |
การพยาบาล |
en_US |
dc.subject |
Thammasat University Hospital |
en_US |
dc.subject |
Mentoring in nursing |
en_US |
dc.subject |
Nursing |
en_US |
dc.title |
ผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงต่อความสามารถในการปฎิบัติบทบาทหัวหน้าทีมของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ |
en_US |
dc.title.alternative |
The effect of using nurse mentorship model on team leader's role competencies of new graduated nurses, Thammasat University Hospital |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การบริหารการพยาบาล |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
branom.r@chula.ac.th |
|