Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยและผลกระทบของการเลือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่ โดยใช้วิธีการวิจัยสองลักษณะคือ 1 ) การวิจัยเชิงสำรวจโดยการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 353 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 2) การวิจัยเชิงประจักษ์โดยการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่จากกลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในชีวงระหว่างบี พ.ศ. 2540-2541 จำนวนทั้งสิ้น 36 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามและตัวแปรอิสระที่ได้กำหนดไว้ วิธีทางสถิติที่ใช้ไนการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่า Binomial test, T-test, Wald-statistic และ Pesudo R2 ผลการวิจัยเชิงสำรวจพบว่าปัจจัยที่สำคัญ ที่สุดที่มีผลต่อการตัดสินใจเสือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่คือ เพื่อทำให้งบการเงินของบริษัทแสดงความถูกต้องและยุติธรรมมากขึ้น และปัจจัยที่สำคัญ ที่สุดที่มีผลต่อการตัดสินใจไม่เลือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคา สินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่คือ การประเมินราคาสินทรัพย์จะทำให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายและภาระเพิ่มมากขึ้น ส่วนผลกระทบที่สำคัญที่สุดที่เกิดจากการเลือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดินอาคารและอุปกรณ์ใหม่คือ บริษัทมีค่าใช้จ่ายและภาระเพิ่มมากขึ้น และผลกระทบที่สำคัญ ที่สุดที่เกิดจากการไม่เลือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่คือ งบการเงินของบริษัทอาจนำไปใช้ในการตัดสินใจได้ไม่ดีพอ ส่วนผลการวิจัยเชิงประจักษ์พบว่าตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตามคือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ในการเลือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรอัตราส่วนแสดงสภาพหนี้สิน (LEV) และตัวแปรอัตราส่วนการลงทุนในที่ดินและอาคาร (PPTY) ส่วนตัวแปรอัตราส่วนแสดงการเปลี่ยนแปลงในกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (∆CFO) และ ตัวแปรขนาดของกิจการ (SIZE) พบว่าไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่มากที่สุดคือ ตัวแปรอัตราส่วนการลงทุนในที่ดินและอาคาร (PPTY) รองลงมาคือ ตัวแปรอัตราส่วนแสดงสภาพหนี้สิน (LEV) โดยตัวแปร อิสระทั้ง 4 ตัวสามารถอธิบายความผันแปรของการเลือกใช้นโยบายการบัญชีในการประเมินราคาสินทรัพย์ประเภทที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ใหม่ได้ร้อยละ 59.3