Abstract:
การศึกษานี้ต้องการศึกษาวิเคราะห์ถึงปัจจัยทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างอิทธิพลของนักการเมืองกับการได้มาซึ่งคะแนนเสียงในการเสือกตั้งของสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ อย่างไร และมากน้อยเพียงใด ตลอดจนค้นหาว่ายังมีปัจจัยเงื่อนไขอื่นใดอีกบ้างที่เป็นตัวกำหนดสำคัญต่อการพิจารณาตัดสินใจลงคะแนนเสียงเสือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่โดยทั่วไป วิธีการศึกษาวิเคราะห์ได้อาศัยการศึกษาค้นคว้าจากบทบัญญัติของกฎหมายและเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับข้อมูลจากอีกสองส่วน คือส่วนแรกเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสำรวจประชากรกลุ่มตัวอย่างโดยทั่วไปด้วยแบบสอบถาม เขตเลือกตั้งละ 100 ตัวอย่าง จาก 6 เขตเลือกตั้ง รวมจำนวน 600 ตัวอย่าง และส่วนที่สองจะใชีวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อย่างเฉพาะเจาะจง จำนวน 30 ท่าน เพื่อท่าให้สามารถสรุปผลการศึกษาได้อย่างชัดเจน ผลการศึกษาสรุปได้ว่า (1) ภาพรวมของสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการรับรองผลการเลือกตั้งรอบสองทั่งสามท่านมีความสัมพันธ์กับนักการเมืองในพื้นที่อยู่ในระดับมาก (ประมาณร้อยละ 50) ทั่งที่มีความสัมพันธ์โดยตรงทางสายโลหิตในฐานะเครือญาติ และมีความสัมพันธ์โดยอ้อมในฐานะผู้ที่เคยอุปถัมภ์กันมาก่อน กล่าวได้ว่าปัจจัยทางด้านแรงสนับสนุนของนักการเมืองในพื้นที่ผ่านทางเครือข่ายหัวคะแนนของเขานี้น คือ ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของประชาชนค่อนข้างมาก (ร้อยละ 30 โดยประมาณ) (2) นอกจากนั้นยังมีปัจจัยสำคัญอีกสองประการที่มีผลต่อการเลือกตั้งของสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ด้วยเช่นกัน ได้แก่ ปัจจัยทางด้านความช่วยเหลือของสถาบันทางราชการ และปัจจัยทางด้านความมีชื่อเสียงของผู้สมัครรับเสือกตั้ง ปัจจัยทั่งสามประการ ส่วนใหญ่แล้วจะมีรากฐานอยู่บนลักษณะวัฒนธรรมของการเมืองไทยที่เห็นแก่ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์เป็นด้านหลัก ทั้งความเป็นเครือญาติ ความเป็นสถาบันเดียวกัน ความสัมพันธ์กับ ท้องถิ่น ฯลฯ รูปแบบของความสัมพันธ์ต่าง ๆ ดังกล่าวล้วนแล้วแต่ถูกผู้สมัครรับเลือกตั้งนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการหาเครือข่ายของฐานคะแนนเสียงทั้งสิ้น โดยที่มีแนวโน้มว่าปัจจัยทั่งสามประการจะมีอิทธิพลต่อสังคมชนบท มากกว่าสังคมเมือง ปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหาความเบี่ยงเบนของเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในทางปฏิบัติจากกรณีการเสือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาของไทยได้เป็นอย่างดี