Abstract:
วัตถุประสงค์ เพื่อนำข้อมูลการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยาทาโครลิมุสในผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมาประยุกต์ใช้ในการติดตามระดับยาทาโครลิมุสในเลือด วิธีดำเนินการ ทำการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยาทาโครลิมุสในผู้ป่วยคนไทยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจำนวน 15 ราย เป็นผู้ป่วยชาย 7 ราย และ หญิง 8 ราย ซึ่งมีอาการคงที่และได้รับยาทาโครลิมุสมาอย่างน้อย 3 เดือน ระดับยาทาโครลิมุสในเลือดถูกตรวจวัดโดยวิธ microparticle enzyme immunoassay using monoclonal antibody ณ เวลา 0 (C0), 1 (C,), 2 (C2), 4 (C4), 6 (C6), 8 (C8), แสะ 12 (C12) ชั่วโมงหลังรับประทานยามื้อเข้า ผลการศึกษา ขนาดยาทาโครลิมุสมื้อเช้าที่ผู้ป่วยได้รับมีค่าเฉลี่ย 0.07 ± 0.01 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (mean ± SE) ระดับยา C0 (trough level) มีค่าเฉลี่ย 10.5 ± 0.9 นาโนกรัม/มิลลิลิตร ระดับยาสูงสุดมีค่าเฉลี่ย 29.6 ± 2.5 นาโนกรัม/มิลลิลิตร เวลาที่มีระดับยาสูงสุดมีค่าเฉลี่ย 1.3 ± 0.1 ชั่วโมง พื้นที่ใต้เส้นแสดงระดับยาภายแบบเต็ม (completed AUC) คำนวณโดยวิธีกฎสี่เหลี่ยมคางหมูมีค่าเฉลี่ย 190.1 ± 14.8 ชั่วโมง • นาโนกรัม/มิลลิลิตร พบว่าขนาดยามือเข้าไม่มีความสัมพันธ์กับ completed AUC ระดับยา C, มีความสัมพันธ์ทางสถิติมากที่สุดกับ completed AUC (r2 = 0.94; P < 0.01) พื้นที่ใต้เส้นแสดงระดับยาแบบย่อ (abbreviated AUC) ที่หาโดยใช้วิธีวิเคราะห์สมการถดถอยซึ่งใช้ระดับยาน้อยจุดที่สุด ที่สามารถทำนายค่า completed AUC ได้อย่างแม่นยำคือ abbreviated AUC = 13.8 + 10.8C4 [r2 = 0.94; percentage of absolute prediction error, APE%, = 4.8 ± 1.1% (range = 0.2-12.9%)] ในขณะที่หาโดยใช้วิธีกฎลี่เหลี่ยมคางหมูคือ abbreviated AUC = 5C0 + 2C2 + 5C1 [r2 = 0.96; APE% = 4.6 .1.1% (range = 0.5-13.4%)] สรุป พบว่าระดับยา C4 เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของ completed AUC และมีความแม่นยำเหนือกว่า C0 ในการติดตามระดับยาทาโครลิมุสในผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตซึ่งมีอาการคงที่และได้รับยานมาอย่างน้อย 3 เดือน