Abstract:
เทือกเขาหิมาลัยอยู่ระหว่างรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกอินเดีย (Indian plate) และยูเรเซีย (Eurasian plate) ที่เคลื่อนชนกัน ส่งผลให้เกิดเป็นแนวมุดตัวหลักตอนกลางบริเวณเทือกเขาหิมาลัย (The main central thrust, Himalaya) ในปัจจุบันแผ่นเปลือกโลกยังคงเคลื่อนที่ชนกันทำให้บริเวณพื้นที่รอบ ๆ ตามรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลักเทือกเขาหิมาลัย มีอัตราการเกิดแผ่นดินไหวสูง รวมถึงแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ เช่น วันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2015 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด ที่ประเทศเนปาล การศึกษาพฤติกรรมแผ่นดินไหวในอดีตจะทำให้สามารถทำนายพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคต จึงจะสามารถที่จะเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยแผ่นดินไหวที่มีสาเหตุจากธรรมชาติ เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยพื้นที่ใดที่มีความเค้นสะสมตัวสูง จะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวในเวลาต่อมา จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ โดยศึกษาค่าคงที่ b ในสมการกูเตนเบิร์กและริกเตอร์ ซึ่งค่าคงที่ b มีความสัมพันธ์เชิงแปรผกผันกับความเค้น หมายความว่า พื้นที่ใดมีค่า b ต่ำพื้นที่นั้นมีความเค้นสูง ซึ่งมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคต หากมีการปล่อยพลังงานจากความเค้น จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่คัดกรอกแล้วนำมาศึกษาค่า b แต่ละพื้นที่จะมีตัวแปรในการวิเคราะห์ที่เหมาะสมแตกต่างกัน การศึกษาย้อนกลับพบว่า หากกวาดรัศมีใด ๆ ออกไปจากพื้นที่ตามจำนวนแผ่นดินไหว 30 เหตุการณ์ จะทำให้ค่าที่เหมาะสมที่สุดในการณ์วิเคราะห์ค่า b ของบริเวณรอยเลื่อนย้อนแนวกลางหลัก เทือกเขาหิมาลัย เมื่อนำค่าดังกล่าวมาศึกษาต่อจะได้แผนที่การกระจายตัวค่า b ในปัจจุบัน พบว่ามี 14 พื้นที่ที่มีค่า b ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าพื้นที่เหล่านี้มีการสะสมความเค้นเพิ่มมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้