Abstract:
จากการขุดค้นพบแนวกำแพงเมืองสงขลาทางด้านทิศตะวันตกของเมืองโดยกรมศิลปากร เมื่อ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ในบริเวณริมถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัด สงขลา ได้มีรายงานพบแนวกำแพงหินก่อด้วยปูนอันมีลักษณะตรงกันกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ของเมืองสงขลา ซึ่งได้ระบุว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2379 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2385 โดยในการขุด ค้นนี้ยังพบกำแพงอิฐที่วางตัวอยู่บนกำแพงหินและกำแพงอิฐที่วางตัวแนบอยู่กับกำแพงหินทางด้าน ในของตัวเมือง จึงเป็นประเด็นปัญหาทางด้านโบราณคดีที่ต้องการพิสูจน์ทราบถึงอายุของกำแพงอิฐ เพื่อนำข้อมูลมาอธิบายถึงลำดับการสร้างกำแพงเมืองสงขลา จากหลักการการหาอายุด้วยวิธี เปล่งแสงซึ่งใช้ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของอิเล็กตรอนที่สะสมตัวในหลุมกักเก็บอิเล็กตรอน ของโครงสร้างผลึกของแร่ ซึ่งเรียกว่า Equivalence dose (ED) กับอัตราการแผ่รังสีต่อปีของธาตุ กัมมันตรังสีในธรรมชาติ ซึ่งเรียกว่า Annual dose (AD) ประกอบกับการที่อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างทาง ธรณีวิทยาชนิดหนึ่งที่สามารถพบแร่ควอตซ์ซึ่งเป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการเปล่งแสงเป็นองค์ประกอบ การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสงจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหาอายุอิฐได้ ผู้จัดทำโครงงานจึง ทำการศึกษาตัวอย่างอิฐของกำแพงเมืองสงขลาทั้งสิ้น 2 ตัวอย่าง คือ ตัวอย่างอิฐที่วางตัวบนของ กำแพงหิน ตัวอย่างที่ 1 (SK1-1) และตัวอย่างอิฐที่วางตัวแนบผนังด้านในของกำแพงหิน ตัวอย่างที่ 1 (SK2-1) โดยทำการเตรียมตัวอย่างเพื่อทดลองหาค่า ED และ AD ด้วยเครื่อง TL/OSL reader และ Gamma-ray spectrometer ตามลำดับ ทั้งนี้ได้ทำการทดลองหาค่า ED จาก 2 แหล่ง ได้แก่ ห้องปฏิบัติการของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และห้องปฏิบัติการของ ภาควิชาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยไฟร์บวร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แล้วนำผลการทดลองที่ ทั้งหมดมาทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติ พบว่าตัวอย่างอิฐ SK1-1 มีอายุ 120-141 ปีก่อนปัจจุบัน และตัวอย่างอิฐ SK2-1 มีอายุ 151-173 ปีก่อนปัจจุบัน จึงสามารถสรุปผลได้ว่าหลังจากการก่อ กำแพงหินเพื่อวางรากฐานกำแพงเมืองสงขลาในปี พ.ศ. 2379 ถึงปี พ.ศ. 2385 เสร็จสิ้น ได้มีการก่อ กำแพงอิฐแนบกับแนวกำแพงหินทางด้านในของตัวเมืองเพิ่มเติมในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2387 ถึงปี พ.ศ. 2409 และต่อมาได้มีการก่อสร้างกำแพงอิฐซึ่งวางทับอยู่บนกำแพงเมืองที่เป็นกำแพงหิน เพิ่มเติมในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2419 ถึงปี พ.ศ. 2440 ซึ่งสามารถคงอยู่และปรากฏให้เห็นเป็น โบราณสถานกำแพงเมืองสงขลาทางด้านทิศตะวันตกของเมืองจนถึงปัจจุบัน