Abstract:
ทดลองนำกรดคาร์มินิกไปใช้เป็นรีเอเจนต์สำหรับการตรวจวัดไอออนเหล็ก(III) โดยวิธีทาง สเปกโทรเมตรี สืบเนื่องจากความสามารถในการเกิดสารเชิงซ้อนที่มีสีม่วงเข้ม เมื่อเปรียบเทียบ สเปกตรัมการดูดกลืนแสงที่ได้จากสารละลายที่มีค่าพีเอชต่างๆ ของกรดคาร์มินิก และสารเชิงซ้อน ของเหล็ก(III) พบว่าพีเอชในการเกิดสารเชิงซ้อนนี้อยู่ในช่วง 5-7 และมีความยาวคลื่นดูดกลืนเท่ากับ 660 นาโนเมตร ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมในการตรวจวัดสารเชิงซ้อนซึ่งไม่ถูกรบกวนจากรีเอเจนต์ที่มาก เกินพอ ข้อมูลนี้นำไปใช้พัฒนาวิธีวิเคราะห์หาปริมาณเหล็ก(III) ในน้ำ ทั้งโดยระบบแบทช์ และระบบ โฟลว และสามารถสร้างกราฟมาตรฐานที่เป็นเส้นตรงของปริมาณเหล็ก(III) ในช่วง 0.5-11 พีพีเอ็ม สำหรับวิธีแบทช์ และ 1.7-11 พีพีเอ็ม สำหรับวิธีโฟลว