Abstract:
ในโครงงานนี้ได้สังเคราะห์ Layer Double Hydroxide (LDH) ทั้งหมด 3 ชนิดที่มีการแทนที่โลหะ ประจุ 4+ คือ เซอร์โคเนียม ซิลิกอน และไททาเนียม ในอัตราส่วนจำนวนโมล 0, 3, 6, 9, 12, และ15 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ด้วยเทคนิค Co-precipitation เพื่อนำมาใช้ในการดูดซับไอออนของสารหนูและ ตรวจสอบเอกลักษณ์โครงสร้างของ LDH ที่ได้ด้วยเทคนิค XRD และศึกษาความสามารถในการดูดซับ ไอออนของสารหนูด้วยเทคนิค ICP-OES โดยกำหนดสภาวะในการทดลองดังนี้ pH = 4, อุณหภูมิ Calcinations = 450 องศาเซลเซียส, เวลาในการดูดซับ = 48 ชั่วโมง และน้ำหนักของ LDH ต่อปริมาตร ของสารละลายสารหนู = 0.01 g/10 mL ผลการทดลองพบว่าความเป็นผลึกของ LDH มีแนวโน้มลดลง เมื่อเปอร์เซ็นต์ของโลหะ 4+ เพิ่มมากขึ้น และความสามารถในการดูดซับไอออนของสารหนูมีแนวโน้มดังนี้ Mg/Fe/Zr-LDH > Mg/Fe/Ti-LDH > Mg/Fe/Si-LDH ซึ่ง Mg/Fe/Zr-LDH มีความสามารถในการดูดซับมากที่สุด เนื่องจากขนาดไอออนของ Zirconium (4+) มีขนาดใหญ่ว่าขนาดไอออนของ Iron (3+) ดังนั้น เมื่อไอออน Iron (3+) ถูกแทนที่ด้วยไอออน Zirconium (4+) ทาให้ความกว้างของชั้นภายในโครงสร้างของ LDH เพิ่มมากขึ้นทำให้ความสามารถในการดูดซับเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้กระบวนการดูดซับไอออนของสารหนู ด้วยตัวดูดซับ LDH มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาแบบ Pseudo-second-order และแบบจำลองสมดุลในการ ดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองของ Freundlich