Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนกับอัตราเงินเฟ้อและพยากรณ์เงินเฟ้อในช่วงปี 2538-2544 ภายใต้กรอบทฤษฎี Fisher โดยการศึกษาจะแบ่งอัตราผลตอบแทนออกเป็น 2 กลุ่มคือ อัตราผลตอบแทนจาก TFB Implied Risk Free Yield Curve และ อัตราผลตอบแทนจาก Repo & TBDC Government Bond Yield Curve และแบ่งอัตราเงินเฟ้อออกเป็น 2 กลุ่มคือ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ในการศึกษาใช่วิธีการทดสอบความมีเสถียรภาพของข้อมูลด้วยวิธี ADF แล้ว ประมาณค่าด้วยวิธี OLS และทดสอบ Cointegration แบบ Engle Granger การศึกษาในกรณีของระดับอัตราผลตอบแทน (yield level) พบว่าอัตราผลตอบแทนระยะยาวจาก TFB Implied Risk Free Yield Curve มีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐาน ในขณะที่อัตรา ผลตอบแทนระยะสันจาก TFB Implied Risk Free Yield Curve มีความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อพื้นฐานเท่านั้นส่วนอัตราผลตอบแทนระยะสันจาก Repo & TBDC Government Bond Yield Curve มีความสัมพันธ์กับเงิน เฟ้อทั่วไปและพื้นฐาน ในกรณีของส่วนต่างอัตราผลตอบแทน (yield spread) พบว่าส่วนต่างอัตราผลตอบแทนจาก TFB Implied Risk Free Yield Curve ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับส่วนต่างอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐาน ในขณะที่ส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนระยะยาวและระยะสั้นจาก Repo & TBDC Government Bond Yield Curve มีความสัมพันธ์กับทั่งส่วนต่างอัตราเงินเฟ้อทั่วไปและส่วนต่างอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ทั้งนี้ส่วนต่างอัตราผลตอบแทนจาก Repo & TBDC Government Bond Yield Curve มีความสัมพันธ์กับส่วนต่างอัตราเงินเฟ้อมากกว่าอัตราผลตอบแทนจาก TFB Implied Risk Free Yield Curve และมีความสัมพันธ์กับส่วนต่างอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมากกว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบแล้วการใช้อัตราผลตอบแทนให้ผลในการพยากรณ์เงินเฟ้อดีกว่าการใช้ส่วนต่างอัตราผลตอบแทน และการที่อัตราผลตอบแทนพยากรณ์อัตราเงินเฟ้อได้ไม่ดีนักซึ่งอาจเป็นเพราะว่าตลาดพันธบัตรไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ