Abstract:
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยศัลยกรรมในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัด และก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล 1 วัน และเพื่อศึกษาถึงความสามารถในการพยากรณ์คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยศัลยกรรมหลังผ่าตัด โดยปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยสามัญทั้งเพศชายและหญิงที่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย หญิง และศัลยกรรมชาย หญิง ออร์โธปิดิกส์ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และยินยอมให้ความร่วมมือในการวิจัย จำนวน 130 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบ ถามปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นการรับรู้ของผู้ป่วย และแบบวัดคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินทั้งสามชุดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงโดยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และแบบวัดคุณภาพ การนอนหลับเท่ากับ .92, .80 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าพิสัย ค่าความเบ้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซํ้า และการ่วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบทุกกรณี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยศัลยกรรมก่อนจำหน่าย 1 วันมีคะแนนเฉลี่ยตํ่าที่สุด รองลงมาคือคุณภาพการนอนหลับหลังผ่าตัด และคุณภาพการนอนหลับก่อนผ่าตัด (X= 34.71, 45.77 และ 57.38 ตามลำดับ) 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 กับคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยศัลยกรรม คือ ความเจ็บปวดแผลผ่าตัด (r= .494) ภาวะสุขภาพร่างกาย (r= -.219) และการรับรู้การรบกวนจากสิ่งแวดล้อม (r = .184) 3. ปัจจัยที่สามารถใช้พยากรณ์คุณภาพการนอนหลับได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 ได้แก่ความเจ็บปวดแผลผ่าตัดโดยสามารถพยากรณ์คุณภาพการนอนหลับได้ 24.4%