Abstract:
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงผลของยากิน N-acetylcysteine ในการป้องกัน radiocontrast-induced acute renal failure จากการทำ coronary angiography หรือ angiocardiography ในผู้ป่วยทีม chronic renal Insufficiency วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาชนิด prospective randomized trial ในผู้ป่วยที่มี chronic renal insufficiency 102 คน (serum creatinine 1.5-6.0; ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 2.14 ± 0.23 ม.ก./ ด.ล., creatinine clearance จากสูตร Cockcroft-Gault 7.6 - 74.3; ค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 30.76 ± 13.56 ม.ล./นาที ซึ่งได้รับการทำ coronary angiography หรือ angiocardiography ด้วยสารทึบรังสีชนิด nonionic, low osmolarity คือ iopromide หรือ iohexol ผู้ป่วยจะถูกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ยากิน N-acetylcysteine 600 ม.ก. ทุก 12 ชั่วโมง ในช่วง 12 ชั่วโมงก่อนถึง 24 ชั่วโมงหลังฉีดสีและได้รับนํ้าเกลือทางหลอดเลือดดำ (0.45% sodium chloride) 1 ม.ล./ก.ก./ชม. ในช่วง 12 ชั่วโมงก่อนถึง 12 ชั่วโมงหลังฉีดสี อีกกลุ่มหนึ่งได้ยาหลอก (placebo) และได้รับนํ้าเกลือดังกล่าว ผลการวิจัย มีผู้ป่วย 14 คน จากผู้ป่วยทั้งหมด 102 คน (13.7%) ที่มี radiocontrast-induced acute renal failure (มีการเพิ่มขึ้นของระดับ serum creatinine ≥ 25% หรือมีการลดลงของค่า creatinine clearance ≥ 25% ที่ 48 ชั่วโมงหลังการฉีดสี), มีผู้ป่วย 7 คน จาก 53 คน ในกลุ่ม N-acetylcysteine (13.2%) และผู้ป่วย 7 ราย จาก 49 คน ในกลุ่มควบคุม (control group) (14.3%) ที่มี radiocontrast-induced acute renal failure ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 1.000), ผู้ป่วยในกลุ่ม N-acetylcysteine มีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ย serum cretinine แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.057) จาก 2.18 ± 0.95 เป็น2.32. 1.12 ม.ก./ด.ล. และมีการลดลงของค่าเฉลี่ย creatinine clearance อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.002) จาก 31.00 ± 13.92 เป็น 29.50 ± 13.15 ม.ล./นาที ในขณะที่ผู้ป่วยกลุ่มควบคุม (control group) มีการเพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ย serum creatinine อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) จาก 2.09± 0.70 เป็น 2.33 ± 0.95 ม.ก./ ด.ล. และมีการลดลงของค่าเฉลี่ย creatinine clearance อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) จาก 30.51 ± 13.31 เป็น 28.17 ± 12.71 ม.ล./นาที ที่ 48 ชั่วโมงหลังฉีดสี, สำหรับการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย serum creatinine และ creatinine clearance ที่ 48 ชั่วโมงหลังฉีดสีในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.207 และ 0.252 ตามลำดับ)