Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษา ประวัติและพัฒนาการของ “หนังสือวัดเกาะ" ในช่วงปี พ.ศ. 2465 -2475 ตลอดจนศึกษาถึงทัศนคติและค่านิยมของกลุ่ม คนที่อ่านหรือเสพ “หนังสือวัดเกาะ” ที่สะท้อนผ่านความเปลี่ยนแปลงของเนื้อหาและรูปแบบของ “ หนังสือวัดเกาะ" นี้ ตามลักษณะสังคมที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ต้นสมัยใหม่ “หนังสือวัดเกาะ" ซึ่งแต่เดิมพิมพ์ร้อยกรองรูป แบบกลอนสวดหรือกาพย์ เนื้อเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ สะท้อนค่านิยมทางพุทธศาสนาและไตรภูมิ เมื่อเกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมจากการเลิกระบบไพร่-ทาส ความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจการค้าและเงินตรา และกายภาพของเมืองที่เปลี่ยนไป “หนังสือวัดเกาะ” จึงปรับ เปลี่ยนไปนำเสนอร้อยกรองในรูปแบบกลอนลำตัด เพื่อตอบสนองต่อผู้เสพที่ไม่สามารถอ่านออกเขียนได้สนใจข้อมูล ข่าวสาร โดยยังคงค่านิยมแบบเดิม ไว้ เมื่อการศึกษาในระบบโรงเรียนขยายตัวเพื่อผลิตคนเข้าในระบบราชการมากขึ้นได้สร้างคนรุ่นใหม่ที่มีลักษณะวิธีคิดและค่านิยมต่างไปจากเดิม ประกอบกับอิทธิพลจากตะวันตกและความนิยมในเรื่องอ่านร้อยแก้วแบบนวนิยาย จึงทำให้ “หนังสือวัดเกาะ” เริ่มถูกเบียดขับออกไปจากการเลือกเสพของคนรุ่น ใหม่