Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกตัวแปรที่สามารถอธิบายความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซํ้าและไม่ป่วยซํ้า กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทที่มารับการรักษาในโรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำจำนวน 110 คน และกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ป่วยซ้ำ จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดที่สร้างโดยผู้วิจัย เพื่อใช้วัดตัวแปรดังต่อไปนี้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง ความเชื่อด้านสุขภาพพฤติกรรมการใช้ยา ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และการแสดงอารมณ์ของครอบครัว แบบวัดทุกฉบับผ่านการการตรวจสอบเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยง .94, .83, .75, .84 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกประเภท โดยวิธีตรง และวิธีแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซํ้าและไม่ป่วยซํ้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทั้งหมด 5 ตัวแปรและมีนํ้าหนักในการจำแนกตามลำตับตังนี้ พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการเตรียมการเผชิญปัญหา พฤติกรรมการใช้ยา สถานภาพสมรส การแสดงอารมณ์ของ ครอบครัว และแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันการป่วยซํ้า โดยผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ไม่ป่วยซ้ำมีการเตรียม การเผชิญปัญหา มีพฤติกรรมการใช้ยาดีกว่ากลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซ้ำ มีการแสดงอารมณ์ของครอบครัวตํ่ากว่า ไม่มี / ไม่อยู่กับคู่สมรสมากกว่าและมีการรับรู้ถึงประโยชน์ของการปฏิบัติ เพื่อป้องกันการป่วยซํ้าที่ถูกต้องมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยจิตเภทที่ป่วยซํ้า