DSpace Repository

ความสามารถของเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน ในการประเมินความแน่ใจในความถูกต้อง ของความรู้ที่ได้จากการรับรู้ด้วยการมองเห็น การอนุมานและการเดาของผู้อื่น

Show simple item record

dc.contributor.advisor เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์
dc.contributor.author ปรีดาภรณ์ ทิวากรกฎ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2020-06-15T03:07:40Z
dc.date.available 2020-06-15T03:07:40Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740316476
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66352
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการประเมินความแน่ใจในความถูกต้องของความรู้ที่ได้จากการรับรู้ด้วยการมองเห็น การอนุมาน และการเดาของผู้อื่นในเด็กอายุ 4-6 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอนุบาล ที่มีอายุระหว่าง 3 ปี 7 เดือน - 6 ปี 6 เดือน จำนวน 120 คน ให้เด็ก ประเมินความถูกต้องของความรู้ที่ได้จากการมองเห็น การอนุมาน และการเดาของผู้อื่น แหล่งความรู้ละ 2 งาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ดือ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. เด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนมีความสามารถในการประเมินความแน่ใจในความถูกต้องของความรู้ของผู้อื่นที่ได้จากการเดาว่ามีความถูกต้องแน่นอนน้อยกว่าความรู้ที่ได้จากการมองเห็น และการอนุมาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นตามระดับอายุที่เพิ่มขึ้น 2. เด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียนมีความสามารถในการประเมินความแน่ใจในความถูกต้องของความรู้ของผู้อื่น ที่ได้จากการมองเห็นและการอนุมาน ไม่แตกต่างกัน
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis was to study 4-6-year-old children’s ability to evaluate the certainty of knowledge through visual perception, inference, and guessing of others. The subjects consisted of 120 kindergarten children (age range = 3 years 7 months to 6 years 6 months). The children were asked to evaluate the certainty of knowledge by performing 2 tasks for each source of knowledge. The Two -way ANOVA was used for statistical analysis. The results are as follows: 1. Preschool children were able to evaluate knowledge gained by guessing as being less certain than knowledge gained by looking and inference at a significant level of .05 and this ability increased with age. 2. There was no significant difference in preschool children’s ability to evaluate the certainty of knowledge gained by looking and inference.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
dc.subject การรับรู้ทางสายตา
dc.subject การอนุมานสาเหตุ (จิตวิทยาสังคม)
dc.subject จิตวิทยาเด็ก
dc.subject พฤติกรรมของเด็ก
dc.subject Preschool children
dc.subject Visual perception
dc.subject Attribution ‪(Social psychology)
dc.subject Child psychology
dc.title ความสามารถของเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน ในการประเมินความแน่ใจในความถูกต้อง ของความรู้ที่ได้จากการรับรู้ด้วยการมองเห็น การอนุมานและการเดาของผู้อื่น
dc.title.alternative Preschool children's ability to evaluate the certainty of knowledge through visual perception, inference, and guessing of others
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาพัฒนาการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record