Abstract:
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการทำงานและการเข้าถึงบริการสุขภาพทั้ง 5 ด้านได้แก่ การรับข้อมูลข่าวสาร, การเดินทาง, ระยะเวลา, คุณภาพบริการ และค่าใช้จ่ายของ แรงงานเด็กไทยในจังหวัดเชียงราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2544 ถึง กุมภาพันธ์ 2545 กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานเด็กไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 500 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 453 คน เปรียบเทียบความแตกต่าง โดยใช้ Unpaired t - test , Mann - Whitney U - test, One - way ANOVA และ Kruskal - Wallis H test. ผลการศึกษาพบว่า แรงงานเด็กมีอายุเฉลี่ย 16.43 ปีมีการศึกษาระดับประถมศึกษา 49.00 % รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 3,288.55 บาท/เดือน แรงงานเด็กส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรม 46.30 % ชั่วโมงการ ทำงานเฉลี่ย8 ชั่วโมง51 นาที/วัน รายได้เฉลี่ยของแรงงานเด็กคือ 1,919.49บาท/เดือน มีความสุขกับงานที่ทำ 27.10 % ไม่มีสวัสดิการการทำงานใดเลยจากนายจ้างถึง 45.79% ประเด็นการเข้าถึงบริการสุขภาพ ในแต่ละด้านพบว่าค่าเฉลี่ยของการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การเดินทาง ระยะเวลา คุณภาพบริการ และค่าใช้จ่าย เป็น 3.66, 3.71,3.27, 3.55 และ 3.41 ตามลำดับ โดยเฉพาะแรงงานเด็กที่มีความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล 45.79% เมื่อพิจารณาการเข้าถึงบริการสุขภาพในหลายด้านกับปัจจัยส่วนบุคคล สภาพครัวเรือนสถานภาพการทำงาน และภาวะสุขภาพ พบว่า แรงงานเด็กมีคะแนนเฉลี่ยของระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพด้าน ข้อมูลข่าวสารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p< 0.05) ตามชั่วโมงการทำงาน สวัสดิการจากนายจ้าง คะแนนเฉลี่ยการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านการเดินทางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ตามอายุอาชีพหลักของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครัวเรือน ฐานะการเงินประเภทของงาน และสวัสดิการจากนายจ้างคะแนนเฉลี่ยของระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านระยะเวลาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(<0.001) ตามอาชีพหลักของครอบครัว คะแนนเฉลี่ยของระดับการเข้าถึงบริการสุขภาพด้านคุณภาพบริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตามอาชีพหลักของครอบครัว สวัสดิการจากนายจ้าง คะแนนเฉลี่ยของระตับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพด้านค่าใช้จ่ายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ตามสถานภาพสมรส อาชีพของครอบครัว สวัสดิการจากนายจ้าง ความรู้สึกกับงาน จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแรงงานเด็กประมาณครึ่งหนึ่งไม่มีสวัสดิการจากนายจ้างซึ่งมีผลต่อสถานภาพการทำงานและการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะเกี่ยวกับระยะเวลาที่รอรับบริการ ความคุ้มค่าของ บริการที่ได้รับกับค่าใช้จ่าย และขั้นตอนของการรับบริการ