Abstract:
การเกิดเนื้อแก้วซึ่งเกิดจากการหลั่งของยางผลมังคุดภายในผลและน้ำยางที่ผิวของผลมังคุดซึ่ง เกิดจากการหลั่งของยางมังคุดภายนอกผลมังคุด เป็นปัญหาใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด โดยงานวิจัย นี้ได้ศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและ ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระจากยางของผลมังคุด พบว่าตัวทำ ละลายในการสกัดที่ดีที่สุดคือ เมทานอล จากนั้นเมื่อแยกสารที่สกัดได้ ด้วยเทคนิค คอลัมน์โครมาโท- กราฟีได้ fraction ผสมทั้งหมด 10 fractions โดย fraction ที่มีปริมาณมากที่สุดคือ fraction ที่ 4 ถูกทำ ให้บริสุทธิ์มากขึ้นโดยใช้ อัตราส่วนระหว่าง เฮกเซน : เอธิลอะซิเตท ในการตกผลึกได้สาร 3 fractions คือ fraction ที่ 4-1, 4-2, และ 4-3 โดยการเปรียบเทียบด้วยการวิเคราะห์ด้วย ¹H-NMR จากข้อมูลใน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า สารใน fraction 4-1 คือ α-mangostin นอกจากนั้น ทำการแยก fraction ที่ 6 ซึ่งเป็น fraction ผสม ด้วยเทคนิคคอลัมน์โครมาโทกราฟีได้ 6 fractions คือ 6-1, 6-2, 6-3, 6-4, 6-5, และ 6-6. โดยฤทธิ์ ในการต้านอนุมูลอิสระซึ่งทดสอบด้วย DPPH และเทียบกับสาร Trolox พบว่า fraction ที่ 4-2, 4-2, 4-3 และ fraction ที่ 6-3 และยางจากผลมังคุด มีค่า TEAC คือ 0.052, 0.146, 0.054, 2.189 และ 0.431 ไมโครโมล / กรัม