Abstract:
โลหะเงิน มีการใช้ประโยชน์อย่างมากในอุตสาหกรรม ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษากระบวนการของ การนำกลับโลหะเงินจากของเสียในห้องปฏิบัติการ และอุตสาหกรรม โดยการวิเคราะห์แบบกราวิเมทริก (Gravimetric analysis) ด้วยวิธีการออกแบบแผนการทดลอง (Experimental design) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ การนำกลับโลหะเงิน ให้พร้อมต่อการแปรรูปเป็นเม็ดโลหะเงินบริสุทธิ์ โดยทำการศึกษาอิทธิพลของ pH, ความ เข้มข้นของซิลเวอร์ไอออน ([Ag⁺]), อัตราส่วนจำนวนโมลระหว่างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ต่อซิลเวอร์ไอออน ([H₂O₂]/[Ag⁺]) และการใช้น้ำประปาแทนการใช้น้ำปราศจากไอออน (Deionized water,DI) ที่มีต่อร้อยละผลได้ กลับคืนโลหะเงิน เพื่อหาอิทธิพลที่เหมาะสม ในการเพิ่มประสิทธิภาพการนำกลับโลหะเงิน และศึกษาสัณฐาน วิทยาของโลหะเงินที่สกัดได้ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscopy, SEM) เพื่อวัดขนาด ตรวจสภาพของโลหะเงินที่นำกลับได้ จากการศึกษาอิทธิพลดังกล่าวนั้น พบว่า pH ที่เหมาะสมที่สุดคือ 12, ความเข้มข้นของซิลเวอร์ไอออน ([Ag⁺])คือ 0.081 โมลาร์, อัตราส่วนจำนวนโมล ระหว่างไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ต่อซิลเวอร์ไอออน ([H₂O₂]/[Ag⁺]) คือ 8 ขนาดของโลหะเงินมีสัญฐานวิทยา หลายแบบปะปนกันไป ขนาดตั้งแต่ 2 - 50 ไมโครเมตร และสามารถใช้น้ำประปาแทนการใช้น้ำปราศจากไอออน ได้ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมได้