dc.contributor.advisor |
อังสนา บุณโยภาส |
|
dc.contributor.advisor |
รุจิโรจน์ อนามบุตร |
|
dc.contributor.author |
พิมลวรรณ นิยมทรัพย์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-06-16T02:00:02Z |
|
dc.date.available |
2020-06-16T02:00:02Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.isbn |
9740316522 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66400 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มิจุดประสงค์หลักเพื่อหาวิธีการประเมินคุณภาพทิวทัศน์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเกาะสมุย และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพทิวทัศน์ของถนนหลักรอบเกาะสมุย ซึ่งในการวิจัยนี้ได้นำผลการประเมินคุณภาพของทิวทัศน์ในแง่ของความสวยหรือไม่สวยที่ได้จากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามประกอบรูปภาพที่เลือกมาจากมุมมองต่าง ๆ ที่เห็นได้จากถนนหลักรอบเกาะสมุยจำนวน 28 ภาพ ที่คัดเลือกมาจากการจำแนกหน่วยพื้นที่ของทิวทัศน์ทั้งหมดออกเป็น 17 หน่วย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คนไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่, กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และกลุ่มคนไทยในกรุงเทพฯที่เป็นสถาปนิก-ภูมิสถาปนิกและประกอบอาชีพอื่น ๆ รวมทั้งสิ้น 150 คน แล้วจึงนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับผลจากการทดลองใช้เทคนิคการประเมินด้วยการให้คะแนนตามวิธี Visual Resource Management (VRM) ทีพัฒนาโดยหน่วยงาน Bureau of Land Management (BLM) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไปในต่างประเทศ เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลที่ได้จากวิธีทั้งสองแล้วได้ข้อสรุปว่า มีผลที่สอดคล้องกันในแง่ของคุณภาพทิวทัศน์ กล่าวคือ ภาพตัวแทนที่ได้รับการประเมินว่าสวยจากการสัมภาษณ์ก็จะมีคะแนนที่ได้จากการประเมินโดยการใช้ VRM อยู่ในกลุ่มที่สวยเช่นกัน และภาพที่ได้รับการประเมินว่าไม่สวยหรืออื่น ๆ ก็จะได้ผลจาก VRM ไปในทิศทางเดียวกัน แต่มีความต่างกันในด้านของจำนวนคะแนนที่ได้รับในแต่ละรูปภาพ ซึ่งอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันใน 2 ประเทศและรสนิยมหรือความชอบของคนที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากจะนำเทคนิค VRM มาใช้จึงจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงในเรื่องของเกณฑ์การให้คะแนนให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นโดยการลดช่วงคะแนนของ BLM ลงในบางประเด็น ซึ่งได้แก่ประเด็นของ ธรณีสัณฐาน, สี, สิ่งที่หายากและลักษณะที่ปรากฏของการพัฒนา ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของ เกาะสมุยที่มีความหลากหลายน้อยกว่า โดยเฉพาะในประเด็นของลักษณะที่ปรากฏของการพัฒนานั้นพบว่า บุคคลทั่วไปสามารถยอมรับได้มากกว่าเกณฑ์ที่ BLM ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้แล้วก็ควรพิจารณาเกณฑ์การให้คะแนนเพิ่มเติมในประเด็นทางจิตวิทยาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะในส่วนที่มีคุณค่าทางจิตใจหรือทำให้เกิดสุนทรียภาพจากการเข้าใจความหมายหรือสัญลักษณ์ (Symbolic Aesthetic) ที่เกณฑ์การให้คะแนนของ BLM ไม่ได้มีการนำส่วนนี้เข้ามาใช้ในการพิจารณาให้คะแนนเลย ในส่วนของแนวทางในการปรับปรุงถนนหลักรอบเกาะสมุยนั้น จากผลของแบบสอบถามพบว่าทัศนียภาพของเกาะสมุยนั้นมีความสวยงาม แต่ถ้าหากทำการปรับปรุงด้วยวิธีการจัดระเบียบในส่วนที่เป็นเมือง การลดการแทรกแซง โดยมนุษย์ และการใช้หลักการจัดองค์ประกอบทางศิลปะเข้ามาช่วยในบางจุด ก็จะทำให้ทัศนียภาพที่มองเห็นได้จากถนนหลักรอบเกาะสมุยนั้นมีความสวยงามมากยิ่งขึ้น |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were to study visual assessment method which was suitable for Ko Samui and to recommend the improvement of its visual quality viewing from the main road. The research was carried out by conducting an interview to assess its scenic quality via questionnaires based on 28 photographs representing all 17 units of the whole view from main road, with 150 samples of target group consisting of local residents, domestic and foreign visitors, and local Bangkok residents from various careers. The result of the interview was then compared with that of the assessment conducted by using Visual Resource Management (VRM) method rating scores criteria of scenic quality developed by Bureau of Land Management (BLM) of the United States and widely used in many Countries. The analysis of the comparison indicated that the scenic quality assessment from both methods were similar ; the photograph, whatever assessed by the interview, got the same category when assessed by the VRM method. However, there were difference in the scores given to the same photograph, probably due to different background, taste and preferences of people. Therefore, if VRM technique is to be applied to Ko Samui, it needs to be adjusted the sensitivity of rating score criteria along with its definition in some areas such as landform, color, scarcity and appearances. Moreover, the BLM's criteria should also consider psychological and cultural modification issues, especially those concern with spiritual value or symbolic aesthetic. For the improvement of visual quality from the main road of Ko Samui, the result of the questionnaires shown that its scenary was beautiful. However, with urban rehabilitation, reduction of manmade intrusion, and application of art composition principle to the low scenic quality areas, the visual quality from the main road of Ko Samui should be even more beautiful. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
สุนทรียภาพ |
|
dc.subject |
ทัศนียภาพ |
|
dc.subject |
ภูมิสถาปัตยกรรม -- ไทย -- สุราษฎร์ธานี |
|
dc.subject |
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- สุราษฎร์ธานี |
|
dc.subject |
เกาะสมุย |
|
dc.title |
การประเมินคุณภาพทิวทัศน์ของถนนหลักรอบเกาะสมุย จ. สุราษฎร์ธานี |
|
dc.title.alternative |
Visual assessment from main road of Ko Samui, Suratthani |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
ภูมิสถาปัตยกรรม |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|