Abstract:
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยบริการตามกิจกรรมของสถานีอนามัย สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2548 ทำการศึกษาในมุมมองของผู้ให้บริการ จัดกลุ่มต้นทุนตามเกณฑ์ “กิจกรรม” ซึ่งแบ่งต้นทุนออกเป็นต้นทุนรวม และต้นทุนทางอ้อม โดยศึกษาตามองค์ประกอบต้นทุน คืนต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา การกระจายต้นทุนไปสู่หน่วยรับต้นทุนใช้วิธีสมการพืชคณิตเส้นตรง กลุ่มประชากรศึกษาคือสถานีอนามัยทั้งหมด 21 แห่ง แบ่งเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนหลัก 9 แห่ง และศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่าย 12 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลตามองค์ประกอบต้นทุน ผลการวิจัยพบว่า ต้นทุนรวมของศูนย์สุขภาพชุมชน โดยเฉลี่ย เป็นเงิน 13,157,928.79 บาท จำแนกได้เป็นต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าลงทุน คิดเป็นร้อยละ 51.76, 40,31 และ 7.93 ตามลำดับอัตราส่วนขององค์ประกอบต้นทุน ต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 6.53 : 5.08 : 1 และต้นทุนรวมของศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่าย โดยเฉลี่ย เป็นเงิน 13,879,632.59 บาท จำแนกได้เป็นต้นทุนค่าแรง ต้นทุนค่าวัสดุ และต้นทุนค่าลงทุน คิดเป็นร้อยละ 54.35,34 76 และ 10.89 ตามลำดับ อัตราส่วนขององค์ประกอบต้นทุน ต้นทุนค่าแรง : ต้นทุนค่าวัสดุ : ต้นทุนค่าลงทุน เท่ากับ 4.99 : 3.19 : 1 สำหรับต้นทุนต่อหน่วยบริการพบว่าศูนย์สุขภาพชุมชนหลัก โดยเฉลี่ยมีต้นทุนต่อหน่วยบริการ กิจกรรมรักษาพยาบาล เท่ากับ 40.46 บาท กิจกรรมอนามัยแม่และเด็กเท่ากับ 117.35 บาท กิจกรรมวางแผนครอบครัว เท่ากับ 93.60 บาท กิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เท่ากับ 155.93 บาท กิจกรรมทันตสาธารณสุข เท่ากัย 198.44 บาท กิจกรรมอนามัยโรงเรียนเท่ากับ 108.96 บาท กิจกรรมสุขศึกษาในสำนักงาน ชุมชน โรงเรียน เท่ากับ 33.40 บาท กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคเท่ากับ 743.07 บาท กิจกรรมการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 84.58 บาท ศูนย์สุขภาพชุมชนเครือข่ายโดยเฉลี่ยต้นทุนต่อหน่วยบริการ กิจกรรมรักษาพยาบาล เท่ากับ 44.97 บาท กิจกรรมอนามัยแม่และเด็ก เท่ากับ 179.96 บาท กิจกรรมวางแผนครอบครัว เท่ากับ 90.26 บาท กิจกรรมสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เท่ากับ 158.94 บาท กิจกรรมทันตสาธารณสุข เท่ากับ 198.65 บท กิจกรรมอนามัยโรงเรียน เท่ากับ 117.27 บาท กิจกรรมสุขศึกษาในสำนกงานชุมชน โรงเรียน เท่ากับ 38.85 บาท กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคเท่ากับ 464.69 กิจกรรมการเยี่ยมบ้านเท่ากับ 92.84 บาท ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดและควบคุมอัตราค่าบริการที่เหมาะสม และเป็นธรรมต่อผู้รับบริการ รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด