dc.contributor.advisor | สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ | |
dc.contributor.author | เพชรวิภา คงอ่ำ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-06-17T02:03:41Z | |
dc.date.available | 2020-06-17T02:03:41Z | |
dc.date.issued | 2548 | |
dc.identifier.isbn | 9741423276 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66414 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 | en_US |
dc.description.abstract | ในวิทยานิพนธ์นี้ ผู้เขียนต้องการประเมินการแก้ปัญหาปฎิทรรศน์คนโกหกของทฤษฎีเชิงบริบทสำหรับผู้ที่มีข้อเสนออยู่ภายในทฤษฎีเชิงบริบทนี้มีเป็นจำนวนมาก แต่ผู้เขียนจะเลือกข้อเสนอที่สำคัญมา 6 ข้อเสนอ คือ ข้อเสนอของไทเลอร์ เบิร์จ ข้อเสนอของจอน บาร์ไวซ และจอห์น เอทชเมนดี้ ข้อเสนอของเฮม เกฟแมน ข้อเสนอของโรเบิร์ต ซี.คูนส ข้อเสนอของคีธ ซิมมอนส และข้อเสนอของไมเคิล กลานซเบิร์ก สิ่งที่ข้อเสนอเหล่านี้มีร่วมกัน คือ ต้องการแก้ปัญหาปฏิทรรศน์คนโกหกที่อยู่ในรูปแบบของปฏิทรรศน์คนโกหกแบบแข็ง สิ่งที่ผู้เขียนทำ ประกอบไปด้วย 4 ส่วน ในส่วนแรก ผู้เขียนแสดงถึงที่มาของปัญหาปฎิทรรศน์คนโกหกแบบแข็งว่าเกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาปฎิทรรศน์คนโกหกของคริปกีที่แก้ปัญหาปฎิทรรศน์คนโกหกภายในภาษาทั่วไป โดยการให้ค่าความจริงกับประโยคที่เป็นปฎิทรรศน์ว่าไม่จริงและไม่เท็จ สำหรับทฤษฎิเชิงบริบทคิดว่าวิธีแก้ปัญหาปฎิทรรศน์โกหกโดยการให่ค่ากับประโยชน์ปฎิทรรศน์ภายในภาษาทั่วไปว่าไม่จริงและไม่เท็จ ทำให้พบกับปัญหาต่อมาที่พวกเขาต้องการแก้ คือ ปัญหาปฎิทรรศน์คนโกหกแบบแข็งปัญหานี้เกิดขึ้นจากการพบประโยคที่เป็นปฎิทรรศน์คนโกหกที่มีค่าไม่จริงและไม่เท็จ และมีการกล่าวหรือเขียนประโยคนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเป็นผลทำให้ประโยคที่เป็นปฎิทรรศน์นี้มีค่าจริง ในส่วนที่สอง ผู้เขียนแสดงวิธีการแก้ปัญหาปฎิทรรศน์คนโกหกแบบแข็งของทฤษฎีเชิงบริบทซึ่งเชื่อว่าเมื่อมีการเปลี่ยนบริบท ค่าความจริงจะเปลี่ยนไปด้วย สำหรับวิธีการแก้ปัญหาของทฤษฎีนี้ ผู้เขียนจะแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนบริบทการให้ค่าความจริงแบบเป็นลำดับขั้น การแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนบริบทการให้ค่าความจริงแบบไม่เป็นลำดับขั้น และการแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนบริบทการให้ค่าความจริงแบบขาย ในส่วนที่สาม ผู้เขียนจะประเมินการแก้ปัญหาปฎิทรรศน์คนโกหกแบบแข็งของทฤษฎีเชิงบริบททั้ง 3 ประเภท และแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีเชิงบริบททั้ง 3 ประเภท พบกับ 3 ปัญหา ปัญหาแรก คือ ปัญหาภายในข้อเสนอของตนเอง ซึ่งทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาปฎิทรรศน์คนโกหกแบบแข็งได้ ปัญหาต่อมา คือ หากสลับการให้ค่าความจริง ในระหว่างแต่ละข้อเสนอ แต่ละข้อเสนอก็ยังมาสามารถแก้ปัญหาปฎิทรรศน์คนโหกแบบแข็งได้ และปัญหาสุดท้าย คือ ปัญหา Superliar ในส่วนสุดท้าย ผู้เขียนจะแสดงถึงการแก้ปัญหาปฏิทรรศน์คนโกหกที่เป็นไปได้ คือ การแก้ปัญหาปฎิทรรศน์โกหกของคริปกี | |
dc.description.abstractalternative | In this thesis, my purpose is to criticize the contextual theories’ approach to the liar paradox. There are many proposals in the contextual theories but l choose six important proposals, that is, the proposal of Tyler Burge, Jon Barwise and John Etchemendy, Haim Gaifman, Robert C. Koons, Keith Simmons and Michael Glanzberg. All of these proposals have the approach to the same problem, the strengthened liar. There are four parts in this thesis. Firstly, l show that the strengthened liar is the problem from Saul Kripke’s approach to the liar paradox. Kripke shows that, in natural language, if the sentence is paradoxical. It will get the truth value “neither true nor false” The contextual theories show that this approach gives rise to the strengthened liar. The form of the strengthened liar is as follow, if we analyze the paradoxical sentence as being neither true nor false, then it follows that this sentence is not true. We have now apparently asserted what we earlier claimed was neither true nor false. Moreover, the assertion that this sentence is not true would seem to commit us to asserting that the paradoxical sentence is true, contrary to the original analysis. Secondly, l explicate the contextual theories’ approach to the strengthened liar. The theories believe that when the context is changed, the truth value is changed either. l divide the theories in three categories. Firstly, the truth value shift as the context shift into the hierarchy. Secondly. The truth value shift as the context shift in the anti hierarchy. Thirdly, the truth value shift as the context expands. Thirdly, l criticize the three approaches and show that they cannot solve the strengthened liar because they have three main problems, the problem in their own approach, the problem when switching the truth-bearers and the problem of the superliar. In the last part, I show the possible approach to the liar paradox by returning to Kripke’s view. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษา -- ปรัชญา | en_US |
dc.subject | การพูดเท็จ | en_US |
dc.subject | ภาษาไทย -- บริบท | en_US |
dc.subject | บริบท (ภาษาศาสตร์) | en_US |
dc.subject | Language and languages -- Philosophy | en_US |
dc.subject | Lying | en_US |
dc.subject | Thai language -- Context | en_US |
dc.subject | Context (Linguistics) | en_US |
dc.title | ปฏิทรรศน์คนโกหกกับทฤษฎีเชิงบริบท | en_US |
dc.title.alternative | Liar paradox and contextual theory | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | ปรัชญา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Siriphen.P@chula.ac.th |