DSpace Repository

การสกัดแลนทาไนด์จากแร่

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสาวรักษ์ เฟื่องสวัสดิ์
dc.contributor.advisor โสมวดี ไชยอนันต์สุจริต
dc.contributor.author อำนาจ สุขเปีย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-17T04:39:15Z
dc.date.available 2020-06-17T04:39:15Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66425
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้สนใจศึกษาการสกัดแลนทาไนด์จากแร่โมนาไซต์ซึ่งเป็นสารประกอบแรร์เอิร์ทฟอสเฟต โดยทำการศึกษากระบวนการย่อยแร่ และกระบวนการสกัดระบบของเหลว–ของเหลวเพื่อแยกแลนทา ไนด์ไอออนโดยใช้กรดได-(2-เอทิลเฮกซิล)ฟอสฟอริก (HDEHP) เป็นลิแกนด์ ในส่วนของการย่อยแร่โมนา ไซต์ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์เพื่อกำจัดฟอสเฟตได้ศึกษาผลของเวลาและความเข้มข้นของเบสที่ 90 °C พบว่าภาวะในการย่อยที่ดีที่สุดคือการใช้เบส 70% w/v นาน 4 ชั่วโมง สำหรับการย่อยแร่ด้วยกรดที่ 80 °C เพื่อให้เกิดเป็นแลนทาไนด์ไอออนโดยศึกษาผลของเวลา ความเข้มข้น และชนิดของกรด พบว่าภาวะที่ ดีที่สุดคือการใช้กรดไฮโดรคลอริก 12.1 โมลาร์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง สำหรับการสกัดแยกโลหะแลนทาไนด์ แบบวัฏภาคของเหลวจากชั้นน้ำสู่ไดคลอโรมีเทนนั้น การศึกษาผลของ pH ความเข้มข้นของลิแกนด์ เวลา ที่ใช้ในการย่อย และผลของไอออนร่วมที่มีต่อประสิทธิภาพในการสกัด พบว่าภาวะที่ทำให้ได้เปอร์เซ็นต์ การสกัดสูงที่สุดถึง 66.7% คือการใช้ HDEHP 24 mM สกัดสารละลายแลนทาไนด์ที่มี pH 5 และมี โซเดียมไอออนเข้มข้น 0.01 M เป็นเวลา 5 นาที หลังจากนั้นได้ศึกษาการสกัดสารละลายแร่ตัวอย่างจริง หลังการย่อยด้วยกรดไนตริก ตรวจวัดปริมาณไอออนด้วย ICP-OES พบว่าประสิทธิภาพในการสกัดแลน ทานัมและนีโอไดเมียมเป็น 21.7% และ 17.7% ตามลำดับ en_US
dc.description.abstractalternative This work interested in extracting lanthanides from rare earth phosphate minerals called monazite by focusing on ore digestion and liquid-liquid extraction using di-(ethylhexyl)- phosphoric acid (HDEHP) as extractant. In order to eliminate insoluble phosphates, basedigestion of monazite at 90 °C was performed by studying the effect of NaOH concentration and time. The best digestion was obtained with 70% w/v NaOH for 4 hours. Mineral acid digestion at 80 °C was then carried out in order to dissolve lanthanides into soluble ions. The studied effects of digestion time, acid concentration and acid type showed that the best conditions were attained with 12.1 M (37% v/v) HCl for 2 hours. The results from the study of effects of pH, ligand concentration, contact time, and Na+ concentration in liquid-liquid extraction showed that the optimal condition for HDEHP to extraction lanthanide ions from aqueous to dichloromethane was achieved using 24 mM HDEHP to extract lanthanide solutions at pH 5 in the presence of 0.01 M Na+ for 5 minutes (66.7 %E). Finally liquid-liquid extraction of real monazite sample solutions collected after nitric acid digestion using ICP-OES quantitative analysis showed percentage extraction of La3+ and Nd3+ to be 21.7% and 17.7%, respectively. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การสกัดแลนทาไนด์จากแร่ en_US
dc.title.alternative Lanthanide Extraction from Ores en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Saowarux.F@Chula.ac.th
dc.email.advisor Soamwadee.C@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record