Abstract:
ในงานวิจัยนี้ได้กราฟต์พอลิแอคริลิกเเอซิด (PAA) บรัช บนผิวกระจกโดยอาศัยปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันริเริ่ม จากพื้นผิวผ่านกลไกแบบ Reversible Addition-Fragmentation Chain Transfer (RAFT) ผลการ วิเคราะห์ PAA ที่เกิดขึ้นในสารละลายด้วยเทคนิคโปรตอน-นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์แสดงให้เห็นว่า สามารถควบคุมการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันได้ดี จากนั้นตรึงโปรตีนออสติโอพอนติน (OPN) ลงบนพื้นผิว ที่กราฟต์ด้วย PAA บรัช โดยใช้ EDC/NHS เป็นตัวรีเอเจนต์คู่ควบ ยืนยันการดัดแปรพื้นผิวกระจกแต่ละ ขั้นตอนโดยการวัดมุมสัมผัสของน้ำและเทคนิคฟูเรียทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (FT-IR) การ วิเคราะห์ด้วยเทคนิคเอ็กซ์เรย์โฟโตอิเล็กตรอนสเปกโทรสโกปี (XPS) แสดงให้เห็นว่าปริมาณการตรึง OPN บน พื้นผิวที่กราฟต์ด้วย PAA ขึ้นกับความเข้มข้นของ OPN ในสารละลาย จากการทดลองพบว่าตัวกลางชนิด OM เหมาะแก่การเพาะเลี้ยงเซลล์กระดูกชนิด MC-3T3-E1 เนื่องจากช่วยส่งเสริมให้เกิดการยึดติดและการเจริญของ เซลล์ การวิเคราะห์ด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (PCR) ชี้ให้เห็นว่าการแสดงออกของยีนชนิดต่างๆ ได้แก่ คอลลาเจน I (Coll I), อัลคาไลน์ฟอสฟาเตส (ALP), octamer-binding transcription factor 4 (Oct 4), NANOG และ Reduced expression 1 (REX1) ขึ้นกับปริมาณของ OPN ที่ตรึงบนพื้นผิว นำมาซึ่งสมมุติฐานที่ว่า โครงสร้างของ OPN ที่ตรึงบนพื้นผิวอาจจะเปลี่ยนแปลงตามความเข้มข้นของ OPN ในสารละลายที่ใช้ในการ ตรึง โดยสรุปแล้วงานวิจัยนี้ได้แสดงถึงศักยภาพในการนำ OPN ไปประยุกต์ใช้ทางด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อกระดูก