DSpace Repository

การสังเคราะห์ไบโอดีเซลโดยใช้แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกหอยเชลล์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมใจ เพ็งปรีชา
dc.contributor.author จินตนา รัตน์คีรีพันธุ์
dc.contributor.author จิรประภา เผ่าพัลลภ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-06-17T05:39:08Z
dc.date.available 2020-06-17T05:39:08Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66437
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2557 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการใช้แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกหอยเชลล์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์ในการ สังเคราะห์ไบโอดีเซลผ่านปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของเมทานอลและน้ำมันปาล์มโดยพบว่าเปลือกหอยเชลล์ บดละเอียดที่ผ่านการเผาที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง สามารถนำมาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ ซึ่ง สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการสังเคราะห์ไบโอดีเซลคือใช้ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาที่ร้อยละ 5โดยน้ำหนัก อัตราส่วนเมทานอลต่อน้ำมันปาล์ม 12:1 ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งจะให้ปริมาณเมทิลเอสเทอร์สูงถึงร้อย ละ97.24 และจากการเปรียบเทียบแคลเซียมออกไซด์จากเปลือกหอยเชลล์กับแคลเซียมคาร์บอเนตทางการค้า และ เปลือกหอยที่ผ่านการสกัด พบว่าแคลเซียมออกไซด์จากทั้งสามชนิดให้ปริมาณเมทิลเอสเทอร์เป็นร้อยละ 97.24, 99.33 และ96.00 ตามลำดับ ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกัน โดยตัวเร่งปฏิกิริยาจากแคลเซียมคาร์บอเนตทางการค้าจะให้ปริมาณ เมทิลเอสเทอร์มากที่สุด และจากการเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานน้ำมันไบโอดีเซลไทย พบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาจาก เปลือกหอยเชลล์มีค่ามากกว่าค่าต่ำสุดตามที่มาตรฐานน้ำมันไบโอดีเซลกำหนดไว้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าตัวเร่งปฏิกิริยา แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกหอยเชลล์มีประสิทธิภาพดีเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการสังเคราะห์ไบโอดีเซลด้วย ปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชัน en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to examine the use of calcium oxide from scallop as heterogeneous catalyst in biodiesel production by transesterification of methanol and palm oil. It was found that mashed scallop that was roasted at 800 degree Celsius for 8 hours can be use as catalyst. The optimum condition for biodiesel production was the use of catalyst 5% w/w and the ratio of methanol and palm oil was 12:1 at 60 degree Celsius for 3 hours that gave the amount of methyl ester 97.24%. The comparison of the amount of methyl ester from the use of calcium oxide from scallop, commercial calcium carbonate and extracted shell as catalysts showed that calcium oxide from three catalysts gave the amount of methyl ester as 97.24%, 99.33% and 96.0% respectively and catalyst from commercial calcium carbonate gave the most amount of methyl ester. The catalyst form scallop gave the amount of methyl ester above the requirement of Thai biodiesel standard. In conclusion, calcium oxide from scallop is a good effective catalyst for biodiesel production. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การสังเคราะห์ไบโอดีเซลโดยใช้แคลเซียมออกไซด์จากเปลือกหอยเชลล์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา en_US
dc.title.alternative Synthesis of biodiesel by using calcium oxide from scallop as catalyst en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Somchai.Pe@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record