Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาต้นแบบกล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนที่สามารถถ่ายภาพที่มีความละเอียด สูงในโหมดส่องผ่าน, โหมดสะท้อนและโหมดหัวกลับในหนึ่งเดียว เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสังเกตวัตถุที่มีขนาดเล็ก เกินกว่าที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่า (น้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตร) โดยงานวิจัยนี้เปลี่ยนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนให้กลาย เป็นกล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนโดยการสร้างอุปกรณ์เสริมที่ประกอบด้วยเลนส์ที่มีกำลังขยายสูงและสามารถแสดง ภาพวัตถุโดยไม่เกิดการบิดเบี้ยว คือ เลนส์พลาโนคอนเวกซ์ คณะผู้วิจัยเลือกเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนให้กลาย เป็นกล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟน เนื่องจากสมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่าย มีขนาดเล็ก กะทัดรัด พกพาได้สะดวก และมีแอพพลิเคชันสำหรับถ่ายภาพที่สามารถใช้ได้ในเวลาที่ต้องการได้ทันที กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนที่พัฒนาขึ้นนี้ มีกำลังขยาย 13 เท่า ความละเอียดของภาพวัตถุที่ถ่ายได้อยู่ที่ 8 ล้านพิกเซล จากผลการทดลองถ่ายภาพผลึกของซิล เวอร์อะซีเตต, ซิลเวอร์ไมริสเตต, น้ำตาล และเกลือด้วยกล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนที่พัฒนาขึ้นเปรียบเทียบกับภาพที่ถ่ายได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงในห้องปฏิบัติการที่มีกำลังขยาย 50 เท่า ความละเอียดของภาพวัตถุที่ถ่ายได้อยู่ ที่ 1.5 ล้านพิกเซล พบว่า ภาพที่ถ่ายจากกล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนที่พัฒนาขึ้นมีความคมชัด และสามารถแสดง รายละเอียดของขนาดและรูปร่างของตัวอย่างได้ชัดเจนและถูกต้องเทียบเท่ากับกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงใน ห้องปฏิบัติการ นอกจากนี้กล้องจุลทรรศน์สมาร์ทโฟนยังมีราคาต้นทุนในการประดิษฐ์ต่ำกว่าราคาขายของกล้อง จุลทรรศน์ในห้องปฏิบัติการด้วย