dc.contributor.advisor | สุรีพร ธนศิลป์ | |
dc.contributor.author | ศิริพร เพิ่มพูล | |
dc.date.accessioned | 2020-06-18T05:15:19Z | |
dc.date.available | 2020-06-18T05:15:19Z | |
dc.date.issued | 2547 | |
dc.identifier.isbn | 9741759304 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66466 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมให้ความรู้ โยคะและการกำกับตนเองต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลิกเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จ.สุพรรณบุรี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มควบคุมก่อนจนครบ 20 คน แล้วจึงเก็บรวบรวมข้อมูลในกลุ่มทดลองอีก 20 คน โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกัน ในเรื่องเพศระยะเวลาของการเป็นโรคและชนิดของยาเบาหวาน กลุ่มควบคุมได้รับการพ ยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติและโปรแกรมการให้ความรู้ โยคะและการกำกับตนเอง เป็นเวลา 9 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมการให้ความรู้ โยคะและการกำกับตนเองที่ผู้วิจัยพัฒนาจากศาสตร์แห่งโยคะและการกำกับตนเองของ Kanfer (1980) โปรแกรมประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินความต้องการและปัญหา 2) การให้ความรู้ 3 ) การฝึกทักษะโยคะ 4)การปฏิบัติ 5 ) การ ประเมินผล โดยมีแผนการสอนและคู่มือการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานเป็นสื่อที่ใช้ในโปรแกรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของการจัดกิจกรรมและความตรงตามเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ท่านและนำไป ทดสอบความเหมาะสมของโปรแกรมกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องตรวจระดับฮีโมโกลบินเอวันซี โดยผ่านการตรวจสอบจากโรงงานผู้ผลิต ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้เป็นมาตรฐานทุกครั้งและทำการตั้งค่ามาตรฐานทุกครั้งก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของกลุ่มทดลองภายหลังการได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ โยคะและการกำกับตนเอง ตํ่ากว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X_ก่อนทดลอง = 8-7 . X_หลังการทอลง = 7.68 ,t = 4.118: p<05) 2. เมื่อมีการปรับระดับฮีโมโกลบินเอวันซีก่อนการทดลองให้เท่ากันทั้ง 2 กลุ่มพบว่าระดับฮีโมโกลบินเอวันซีภายหลังเข้าร่วมโครงการ กลุ่มทดลองตํ่ากว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (X_ก่อนทดลอง = 7.68 . X_กลุ่มควบคุม = 8.14, F = 5.084: p<05) | |
dc.description.abstractalternative | This quasi-experimental research aimed to test the effect of Using Giving Information, Yoga, and Self- Regulation Program on glycosylate hemoglobin (HbAlc) level in Type 2 Diabetes patients. Study samples were 40 patients with Diabetes Clinic at outpatient department, Somdejphasunkharaj 17th Hospital Suphanburi province The subjects were devided into a control group and experimental group. The groups were matched in terms of sex, drug treatment, and duration of illness. A control group received routine nursing care, while an experimental group received the nine weeks Giving Information, Yoga, and Self-Regulation Program together with routine nursing care. The program, based on Yoga concept, and Self-Regulation of Kanfer (1980), was comprised of five sessions: a) assessment, b) knowledge providing, c) skill of yoga ,d) practice and e) evaluation. Data were analyzed using descriptive statistics, t-test, and ANCOVA. The major findings were that posttest HbAlc level of an experimental group was significantly lower than that of the pretest (X_pre = 8.7 , X_post = 7.68 , t =4.118 , p < .05), and the posttest HbAlc level of an experimental group was significantly lower than that of a control group while the pretest HbAlc level was adjusted. (X_expernment= 7.68,X_control = 8.14, F =5.084, p < .05). | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เบาหวาน -- การรักษา | en_US |
dc.subject | เบาหวาน -- ผู้ป่วย | en_US |
dc.subject | Diabetes--Treatment | en_US |
dc.subject | Diabetics | en_US |
dc.title | ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้โยคะและการกำกับตนเอง ต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 | en_US |
dc.title.alternative | The effect of using giving information, yoga, and self-regulation program on HbAlc in type 2 diabetes patients | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sureeporn.T@Chula.ac.th |