Abstract:
อายุความในคดีอาญาเป็นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเพื่อจะฟ้องผู้ที่กระทำความผิดให้ได้รับโทษตามกฎหมาย ถ้าคดีล่วงเลยอายุความจะไม่สามารถฟ้องและนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ จึงมีหลายคดีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยอาศัยช่องโหว่ของกฏหมายอายุความ กระทำความผิดแล้วหลบหนีจนคดีขาดอายุความฟ้องร้องหรือเรียกว่า “การหลบหนีจากความยุติธรรม” ซึ่งการหลบหนีจากความยุติธรรมนี้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายอายุความในคดีอาญา วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาแนวคิดในการกำหนดอายุความฟ้องร้องในคดีอาญาของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประมวลกฎหมายอาญาฉบับปัจจุบันยกร่างเมื่อวันที่ 1มกราคม 2500 แล้วมาได้มีการแก้ไขกฎหมายในเรื่องอายุความอีก นโยบายการกำหนดอายุความในคดีอาญาพิจารณาเพียงความรุนแรงของความผิดและอัตราโทษ แต่ไม่ได้คำนึงถึงความยากง่ายในการสืบพยานหลักฐานและอายุความในคดีอาญาไม่มีการนำหลักการหยุดนับระยะเวลาอายุความมาใช้กับบุคคลที่หลบหนีจากความยุติธรรม โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายอายุความในคดีอาญาของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกฎหมายอายุความในคดีอาญาของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่นมีการบัญญัติเรื่องการหยุดนับระยะเวลาอายุความมาใช้กับบุคคลที่หลบหนีจากความยุติธรรม วิทยานิพนธ์เล่มนี้ศึกษาถึงรูปแบบที่เหมาะสมของการหยุดนับระยะเวลาอายุความที่นำมาใช้กับการหลบหนีจากความยุติธรรม ของอายุความในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย