Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาระยะเวลาที่บริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ใช้ในการประกาศกำไรรายไตรมาส (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความซับซ้อนทางบัญชีกับ ระยะเวลาในการประกาศกำไรรายไตรมาสของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับระยะเวลาในการประกาศกำไรรายไตรมาสของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งความซับซ้อนทางบัญชีที่สนใจศึกษาประกอบด้วย (1) จำนวนบริษัทย่อยและบริษัทร่วม (2 )จำนวนส่วนงานธุรกิจและส่วนงานภูมิศาสตร์ (3) รายการพิเศษ และ (4) ร้อยละของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน สำหรับความสามารถในการทำกำไรที่สนใจศึกษาประกอบด้วย (1) อัตราผลตอบแทนของโครงสร้างเงินทุน (2) อัตราผลตอบแทนของส่วนของผู้ถือหุ้น (3) อัตราผลตอบแทนของยอดขาย กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 -2547 ยกเว้นกลุ่มธนาคาร เงินทุนหลักทรัพย์ ประกันชีวิตและประกันภัย การศึกษาในครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา (ความถี่และร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยมและส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุในการอธิบายผลการวิจัยและการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความซับซ้อนทางบัญชีและความสามารถในการทำกำไรกับระยะเวลาในการประกาศกำไรรายไตรมาส ผลจากการวิเคราะห์สถิติเชิงพรณนา พบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนวันที่ใช้ในการประกาศกำไรรายไตรมาส อยู่ที่ 44 วัน ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดให้นำส่งบการเงิน สำหรับผลการ วิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ตัวแปรที่ใช้วัดความซับช้อนทางบัญชีที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการประกาศกำไรรายไตรมาส ประกอบด้วย (1) จำนวนส่วนงานธุรกิจและส่วนงานภูมิศาสตร์ โดยพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระยะเวลาในการประกาศกำไรรายไตรมาส ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% (2) ร้อยละของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับระยะเวลาในการประกาศกำไรรายไตรมาส ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สำหรับตัวแปรที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาในการประกาศกำไรรายไตรมาส คือ อัตราผลตอบเทนของโครงสร้างเงินทุน โดยพบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับระยะเวลาในการประกาศทำกำไรรายไตรมาส ที่ ระดับความเชื่อมั่น 99 นอกจากนี้ผลการทดสอบ พบว่า ตัวแปรควบคุม คือ ขนาดของบริษัทและโครสร้างทุน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับระยะเวลาในการประกาศกำไรรายไตรมาส ที่ระดับความเชื่อมั่น 99%