Abstract:
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่พบมากในหญิงวัยหมดประจำเดือนเนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลง ของหญิงในวัยนี้ เนื่องด้วยการเกิดโรคต่างๆ มักส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณของเมทาโบไลต์ในร่างกายเมื่อ เทียบกับสภาวะปกติ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสารเมทาโบไลต์กับการเกิดโรคกระดูกพรุน โดยใช้วิธีการเมทาโบโลมิกส์ โดยศึกษาระดับของเมทาโบไลต์ในหนูที่มีภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน (OVX) เปรียบเทียบกับหนูในสภาวะปกติ (sham) และศึกษาประสิทธิภาพการรักษาหนูกลุ่ม OVX โดยใช้สารสกัดว่านชัก มดลูกเปรียบเทียบกับการรักษาด้วยสารไดเอริลเฮปทานอยด์บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์หลักในว่านชักมดลูก ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเมทาโลมิกส์แบบไม่จำเพาะเจาะจง (untargeted metabolomics) และแบบจำเพาะ เจาะจง (targeted metabolomics) โดยวิเคราะห์ปริมาณของไขมันชนิดต่างๆที่พบมากในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบการเปลี่ยนแปลงระดับของเมทาโบไลต์จำนวน 202 และ 10 ไอออน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบหนูกลุ่ม OVX กับหนูกลุ่ม sham ส่วนประสิทธิภาพการรักษาหนูกลุ่ม OVX ด้วยสารสกัดที่ได้จากว่านชักมดลูกเทียบกับสารไดเอ ริลเฮปทานอยด์ พบว่า การรักษาด้วยสารสกัดที่ได้จากว่านชักมดลูกส่งผลให้ระดับเมทาโบไลต์ในหนูกลุ่ม OVX มี ค่าใกล้เคียงกับหนูกลุ่ม sham มากกว่าการรักษาหนูดังกล่าวด้วยสารไดเอริลเฮปทานอยด์บริสุทธิ์ แสดงถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาสารสกัดว่านชักมดลูกให้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกระดูกพรุนยิ่งขึ้นต่อไป