Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม กับความตั้งใจในการเลกสูบบุหรี่ของผู้หญิงอาชีพบริการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้หญิงอาชีพบริการที่สูบบุหรี่ซึ่งปฏิบัติงานในสถานกาของจังหวัดภูเก็ต จำนวน 100 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีการกระทำตามแผนของ Ajzen (1988) ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบสอบถามเจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ แบสอบถามการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง แบบสอบถามการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และแบบสอบถามความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ ได้ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอบบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .76, .86, .90 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .76,.86,.90 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้หญิงอาชีพบริการมีเจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 134.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 22.16 การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมอยู่ในระดับต่ำ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 116.43 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 48.93 และความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.44 2. เจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้หญิงอาชีพบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .36, .33 และ .25 ตามลำดับ) 3. เจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ของผู้หญิงอาชีพบริการได้ร้อยละ 15.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงไม่มีอำนาจในการทำนายซึ่งสร้างสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ ความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ = .334 (เจตคติต่อการเลิกสูบบุหรี่) + .216 (การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม)