Abstract:
งานวิจัยนิพนธ์ฉบับนี้สนใจศึกษาความสัมพันธ์ของค่าที่สุดปลาย (Extreme Values) ที่รู้จักกันในนาม Tail Dependence ของตัวแปรสุ่ม 2 ตัว เมื่อมีการแจกแจงร่วมแตกต่างกัน โดยเปรียบเทียบค่า Tail Dependence ของการแจกแจงคอพพูลา 3 แบบ คือ การแจกแจงคอพพูลาแบบปกติ, การแจกแจงคอพพูลาแบบที และการแจกแจงคอพพูลาแบบดับเบิ้ลที และผลกระทบของ Tail Dependence ที่ใช้อธิบายการประเมินมูลค่าตราสารอนุพันธ์ CDO ผลจากการวิจัยสามารถเรียงลำดับค่า Tail Dependence จากมากไปหาน้อยตามการแจกแจงเป็นดังนี้คือ การแจกแจงคอพพูลาแบบที, การแจกแจงคอพพูลาแบบดับเบิ้ลที และการแจกแจงคอพพูลาแบบปกติ Tail Dependence สำหรับการคำนวณความเสี่ยงด้านเครดิต สามารถพิจารณาว่าเป็นสภาวะของการคงอยู่พร้อมกัน หรือ การล้มละลายพร้อมกันระหว่าง 2 บริษัท ในกรณี 2 บริษัทใน portfolio สมมติว่าความถี่ในการล้มละลาย ค่า Tail Dependence สามารถอธิบายความแตกต่างในการประเมินมูลค่า CDO ที่มีคอพพูลาที่แตกต่าง และพบว่าการแจกแจงคอพพูลาแบบปกติให้การประเมินมูลค่า CDO มากที่สุด ตามด้วยการแจกแจงแบบดับเบิ้ลที และการแจกแจงแบบทีตามลำดับ อีกในหนึ่ง Tail Dependence แปรผกผันกับการประเมินมูลค่า CDO ในกรณี 50 บริษัท ค่า Tail Dependence สามารถอธิบายการประเมินมูลค่า CDO จากการแจกแจงคอพพูลาแบบต่างๆ ได้เพียงบางส่วน ในกรณีนี้จะพบว่าการแจกแจงคอพพูลาแบบปกติจะให้มูลค่า CDO มากที่สุด อย่างไรก็ตามการแจกแจงคอพพูลาแบบที และการแจกแจงคอพพูลาแบบดับเบิ้ลที ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แน่นอน