Abstract:
วิทยานิพนธ์ คือ งานสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์ที่จะต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความอุตสาหะ พากเพียร และเงินทุนจำนวนมาก เพื่อก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ ปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ของประเทศไทย นั้น ยังคงเป็น ปัญหาที่ไม่สามารถหาข้อยุติและยังเป็นที่ถกเถียงกันท่ามกลางนักกฎหมายหลายท่าน ว่า บุคคลใดสมควร ที่จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ ระหว่างนิสิตนักศึกษากับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งปัญหาดังกล่าวยัง คงไม่สามารถหาบทสรุปที่แน่นอนได้ ดังนั้น จึงมีความเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาเพื่อทำ การศึกษาและวิจัย การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ต้องการที่จะหาคำตอบว่า ใครสมควรเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ในวิทยานิพนธ์ โดยจะทำการศึกษาตามแนวทางของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 , กฎหมาย ลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง และทำการ ศึกษาเปรียบเทียบกับ กฎระเบียบ และขั้นตอนในการจัดทำวิทยานิพนธ์ในหลายประเทศ เพื่อที่จะทำการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับ ความ เป็นเจ้าของวิทยานิพนธ์ ว่าในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการวางหลักในการให้ความคุ้มครองผู้สร้างสรรค์ ไว้อย่างถูกต้องและเพียงพอแล้ว หรือไม่ จากการศึกษาวิจัยพบว่า เมื่อทำการพิจารณาจากกระบวนการและธรรมชาติของงานวิทยานิพนธ์ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศแล้ว จะพบว่า นิสิตนักศึกษาต้องจัดทำวิทยานิพนธ์ทั้งหมด ด้วยตนเองตามหลักสูตรที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด ดังนั้น ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์ จึง สมควรตกเป็นของนิสิตนักศึกษา นิสิตนักศึกษาควรจะมีสิทธิในฐานะของจ้าของลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 แต่อย่างไรก็ตามกรณีวิทยานิพนธ์ที่มีที่มาจากโครงการวิจัยนั้นโดยส่วนใหญ่มักจะมี การสร้างสรรค์ขึ้นด้วยเงินทุน เครื่องมือ เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆที่ทางมหาวิทยาลัยจัด ให้ กรณีดังกล่าว ลิขสิทธิ์ในวิทยานิพนธ์สมควรที่จะต้องตกเป็นของมหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาร่วมกัน