Abstract:
พอลิ(แล็กติก แอซิด) เป็นพอลิเมอร์ที่จัดอยู่ในกลุ่มของพอลิเอสเตอร์สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติโดยสามารถสังเคราะห์ได้จากกรดแล็กติก จึงทำให้พอลิเมอร์ดังกล่าวถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในงานด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านวงการแพทย์ แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากพอลิเมอร์ชนิดนี มีสมบัติความไม่ชอบน้ำที่ค่อนข้างสูงจึงทำให้มีข้อจำกัดทางด้านการใช้งานเมื่อต้องมีการสัมผัสกับน้ำโดยตรง งานวิจัยนี้จึงได้มีการนำเสนอโมเลกุลขนาดใหญ่ชนิดใหม่ขึ้นมาคือ PLAdi+ ซึ่งเป็นพอลิ(แล็กติก แอซิด) น้ำหนักโมเลกุลต่ำที่มีประจุบวกทางปลายทั้งสองด้านของพอลิเมอร์ โดยสังเคราะห์ได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างพอลิแล็กติกแอซิดกับไกลซิดิลไตรเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ (GTMAC) ซึ่งมีหมู่ควอเทอร์นารีแอมโมเนียมที่อยู่บนวงอีพอกไซด์ สภาวะการสังเคราะห์ที่เหมาะสมที่สุดมีร้อยละการแทนที่ของประจุบวกที่สูงถึง 68% โดยสมบัติความชอบน้ำของพอลิเมอร์สามารถวัดได้จากการใช้วิธี air-water contact angle measurement และวัดการดูดซับน้ำจากการทำฟิล์มโดยผสมกันระหว่างพอลิแล็กติก ทางการค้ากับ PLAdi+ ในหลายสัดส่วน ซึ่งผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าค่า contact angle ลดลงและแผ่นฟิล์มสามารถดูดน้ำได้มากขึ นเมื่อสัดส่วนของ PLAdi+ เพิ่มขึ้นจาก 10 60% ดังนั้นประจุบวกสามารถเพิ่มคุณสมบัติความชอบน้ำของพอลิเมอร์ได้