Abstract:
บิวทานอลมีข้อได้เปรียบกว่าไบโอเอทานอลหลายประการ จึงถือว่าบิวทานอลเป็นพลังงานทางเลือกแห่งอนาคต อย่างไรก็ตามเนื่องจากความเปนพิษของบิวทานอลไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรียที่ใช้ในกระบวนการหมักบิวทานอล ทำให้ความเข้มข้นที่ผลิตได้มีค่าต่ำ งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาและเปรียบเทียบความทนต่อ 1-butanol ของแบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ต่างๆ ที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม เพื่อหยุดหรือเพิ่มการแสดงออกในยีนที่สนใจ โดยทดสอบความทนต่อ 1-butanol ที่ความเข้มข้น 1% (v/v) ในอาหารเลี้ยงเชื้อ Spizizen’s minimal media และวัดค่า OD₆₀₀ เพื่อดูการเจริญเติบโตของ B. subtilis สายพันธุ์ต่างๆ เทียบกับ B. subtilis สายพันธุ์ 168 (wild type) และใช้น้ำเป็นตัวควบคุม พบว่า B. subtilis สายพันธุ์ LM31 และ PU31 ซึ่งมีการกลายพันธุ์ของยีน yfnI/mprF และ pssA/ugtP ตามลำดับ มีความทนต่อ 1-butanol ดีกว่า B. subtilis สายพันธุ์ 168 สาหรับ B. subtilis สายพันธุ์ OPS, OUG, OPG, OPU และ LMOPU ซึ่งมีการเพิ่มการแสดงออกของยีน pssA, ugtP, pgsA, pssA/ugtP ในสายพันธุ์ 168 และ pssA/ugtP ใน LM31 ตามลำดับ และ B. subtilis สายพันธุ์ LPG31, UGT31, LTA31 ซึ่งมีการกลายพันธุ์ของยีน mprF, ugtP, yfnI ตามลำดับ มีความทนต่อ 1-butanol ใกล้เคียงกับ B. subtilis สายพันธุ์ 168 ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยยังได้ทำการสกัดไขมันจากเซลล์ B. subtilis เพื่อวัดระดับฟอสโฟลิปิดและกลีเซอโรลิปิดที่เกี่ยวข้องในสายพันธุ์ต่างๆ ด้วยเทคนิค liquid chromatography – mass spectrometry (LC–MS) ในลำดับถัดไปด้วย