DSpace Repository

การศึกษาข้อมูลระหว่างวันของปริมาณการซื้อขายและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สันติ ถิรพัฒน์
dc.contributor.author อนุสรณ์ พฤษาระยัพ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2020-06-25T06:51:52Z
dc.date.available 2020-06-25T06:51:52Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9741438303
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66580
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการซื้อขายและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศ รวมไปถึงการปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว เช่น ช่วงเวลา สภาวะตลาด และประเภทของหลักทรัพย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและไม่มีสภาพคล่อง และดัชนีอุตสาหกรรมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 29 อุตสาหกรรม เป็นข้อมูลราย 5 นาที ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ 2546 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ 2547 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบรูปแบบผลตอบแทนซึ่งไม่มีลักษณะเป็นรูปแบบตัว U หรือ W แต่พบรูปแบบของปริมาณการซื้อขายเป็นรูปตัว U และผลการศึกษาพบว่าปริมาณการซื้อขายและผลตอบแทนของหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีผลตอบแทนเป็นตัวชี้นำปริมาณการซื้อขายประมาณ 5-10 นาที แสดงให้เห็นถึงรูปแบบ Momentum ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้ในการทดสอบความผันผวนของผลตอบแทนโดยใช้ GARCH (1.1 ) และเพิ่มตัวแปรปริมาณการซื้อขายและผลตอบแทนเข้าไปในสมการ พบว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีความผันผวนในรูป GARCH และทั้งตัวแปรปริมาณการซื้อขายและผลตอบแทนมีความสัมพันธ์กับความผันผวนของตอบแทน แต่การเพิ่มตัวแปรทั้งปริมาณการซื้อขายและผลตอบแทนไม่สามารถลดผลกระทบของ GARCH ได้ อย่างไรก็ตาม ปริมาณการซื้อขายมีผลกระทบต่อความผันผวนของหลักทรัพย์ในช่วงตลาดขาขึ้นเท่านั้น
dc.description.abstractalternative This study mainly intends to detect evidence on relationship and characteristic of intraday 5 minute return and trading volume on the Stock Exchange of Thailand. In the study we do use SET index most and least active stock and 29 of sector indices as estimator to investigate the information links between trading volume and stock return during October 2003 to March 2004 period. In SET the intraday return pattern cannot be characterized by a smooth U- or W shaped pattern but trading volume forms a U-shape pattern. Strong positive related between trading volume and return with lagged return can predict change in volume within 5-10 minute as Momentum pattern in SET. Moreover the GARCH (1.1) model is augmented by volume and return to investigate the relation the result shows the volume and return affects the condition return volatility but adding trading volume and return in GARCH model cannot reduce GARCH effect. However, trading volume affects the return volatility in bull period only.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย en_US
dc.subject การซื้อขายหลักทรัพย์ en_US
dc.subject อัตราผลตอบแทน en_US
dc.subject Stock Exchange of Thailand
dc.subject Securities
dc.subject Rate of return
dc.title การศึกษาข้อมูลระหว่างวันของปริมาณการซื้อขายและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Intraday study on trading volume and stock return of Stock Exchange of Thailand en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การเงิน en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sunti.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record