Abstract:
ได้พิสูจน์ทราบเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในเห็ดหอมโดยใช้เทคนิคแก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปก- โตรเมตรี (GC-MS) ร่วมกับเทคนิคเฮดสเปซโซลิดเฟสไมโครเอกซ์แทรกชัน (HS-SPME) โดยใช้แคปิลลารีคอลัมน์ของ GC ประเภท HP-5MS ขนาด 30m × 0.25mm × 0.25μm และใช้การออกแบบการทดลองชนิด central composite design (CCD) ออกแบบการทดลองเพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมเห็ดหอมตัวอย่างด้วย HS-SPME พบว่าสภาวะที่เหมาะสมของ HS-SPME คือ อุณหภูมิที่ใช้ในการสกัดเท่ากับ 75 องศาเซลเซียส ระยะเวลาที่ใช้ในการสกัดเท่ากับ 50 นาที และระยะเวลาในการปลดปล่อยสารในเครื่อง GC-MSเท่ากับ 10 นาที จากการพิสูจน์ทราบเอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในเห็ดหอมโดยเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล NIST สามารถพิสูจน์ทราบเอกลักษณ์ของสาระเหยง่ายได้ทั้งหมด 32 ชนิด โดยเมื่อใช้วิธีเคโมเมทริกซ์ชนิดการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (PCA) พบว่าสามารถจำแนกกลุ่มของเห็ดหอมที่มาจากแหล่งเพาะปลูกที่แตกต่างกันได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี สระบุรี เชียงใหม่ และนครราชสีมา ด้วยรูปแบบ PCA ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงบ่งชี้ได้ว่าสามารถใช้วิธี HS-SPME-GC-MS ร่วมกับวิธีเคโมเมทริกซ์ในการพิสูจน์ทราบเห็ดหอมที่มาจากแหล่งเพาะปลูกที่แตกต่างกันได้