Abstract:
ทหารอากาศที่ได้รับสวัสดิการที่พักอาศัยตอนขณะยังทำงานอยู่แต่เมื่อเกษียณอายุราชการ ต้องออกจากที่พักภายใน 90 วัน ซึ่งทหารอากาศเหล่านี้เป็นระดับประทวนซึ่งมีรายได้น้อย ถ้าจะเตรียมที่อยู่อาศัยหลังเกษียณคงเป็นไปได้ยากเพราะบำนาญที่ได้ก็เพียงพอแค่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเท่านั้น การกู้เงินจากสถาบันการเงินก็เป็นไปได้ยากเช่นกัน และปัญหาในการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคนหลังเกษียณก็มีมากมาย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ และการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ เพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป โดยใช้วิธีรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและปฐมภูมิจากการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ตามสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเตรียม พบว่าโดยรวมของกลุ่มเตรียม ส่วนใหญ่เป็นชายถึงร้อยละ 95 อายุอยู่ระหว่าง 53-55 ปี ร้อยละ 48.7 สถานภาพแต่งงาน ร้อยละ 95 มีบุตร 2 คน ร้อยละ 54.6 การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 95.8 อยู่อาศัยภรรยา/สามีและบุตร ร้อยละ 88.2 รายได้ประจำรวมทั้งครอบครัวต่อเดือน 15,000-25,000 บาท ร้อยละ 63.9 รายได้พิเศษต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 22.7 เงินออมต่ำกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 22.7 เงินออมต่ำกว่า 1,000 บาท ร้อยละ 23.5 รายจ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ 1,000-2,000 บาท ร้อยละ 41.2 ระยะเวลาการพักอาศัยในบ้านพักสวัสดิการ 11-20 ปี ร้อยละ 42 อายุงาน 11-20 ปี ร้อยละ 42 ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับที่พักสวัสดิการ ร้อยละ 79.8 เกี่ยวกับข้อมูลการเตรียมด้านที่อยู่อาศัยหลังเกษียณ พบว่าส่วนใหญ่อยู่ระหว่างกำลังผ่อน ร้อยละ 41.2 อัตราผ่อนต่อเดือนมากกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 42.9 อันดับสองเพื่อสร้างใหม่เพราะมีที่ดินแล้ว ร้อยละ 29.4 กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนใหญ่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 60 งบประมาณในการก่อสร้าง ต่ำกว่า 500,000 บาทร้อยละ 62.9 อันดับสาม เพื่อปรับปรุง ร้อยละ 15.1 ส่วนใหญ่ปรับปรุงบริเวณภายนอกกรอบ ๆ บ้านให้ดีขึ้น ร้อยละ 61.1 รองลงมา ปรับปรุงภายใน ร้อยละ 50 ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นของพ่อแม่-ญาติพี่น้องร้อยละ 61.1 งบประมาณในการปรับปรุง 50,000-100,000 บาท ร้อยละ 50 อันดับสุดท้ายอยู่ระหว่างกำลังหาซื้อ ร้อยละ 14.3 ราคาที่ต้องการ 500,000-1,000.000 บาท ร้อยละ 70.6 ปัจจัยที่สำคัญ 1-5 เรียงลำดับในการตัดสินใจซื้อ คือ 1. ราคา 2 เงื่อนไขการชำระเงิน 3. รูปแบบสวยงาม 4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5. สิ่งอำนวยความสะดวก แหล่งเงินที่นำมาใช้ในการเตรียม ส่วนใหญ่มาจากเงินกู้ อันดับสองเงินบำเหน็จ/บำนาญ และเงินออมอันดับสาม ประเภทที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นทาวน์เฮาส์ ร้อยละ 52.1 ทำเลที่ต้องปริมณฑล ร้อยละ 67.2 ที่มาของรายได้เมื่อเกษียณส่วนใหญ่มาจากบำเหน็จ/บำนาญ การวางแผนใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายประจำยามเกษียณ ส่วนใหญ่หลังเกษียณไม่ต้องการทำงาน บุคคลที่ต้องการอยู่ด้วยหลังเกษียณ คือ คู่สมรส ในด้านความช่วยเหลือจากรัฐ/หน่วยงาน ที่เกี่ยวักบด้านที่อยู่อาศัย ส่วนใหญต้องการความช่วยเหลือในการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในการผ่อนที่อยู่อาศัย อันดับสองร่วมมือกับเอกชน/การเคหะจัดสร้างที่อยู่อาศัยให้ผ่อนราคาถูก ผลการศึษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มไม่เตรียม พบว่าส่วนใหญ่เป็นชาย ร้อยละ 95.1 อายุระหว่าง 53-55 ปี ร้อยละ 39.8 แต่งงาน ร้อยละ 96.1 มีบุตร 2 คน ร้อยละ 51.5 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 91.3 อยู่อาศัยกับภรรยาๅ/สามีและบุตร ร้อยละ 82.5 รายได้ประจำทั้งครอบครัว 15,000-25,000 บาท ร้อยละ 75.7 รายได้พิเศษ ต่ำกว่า 5,000 บาท ร้อยละ 21.4 เงินออมอยู่ที่ 1,000-2,000 บาท ร้อยละ 24.3 รายจ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 1,000-2,000 บาท ร้อยละ 46.6 ระยะเวลาการอาศัยในบ้านพักสวัสดิการ 11-20 ปี ร้อยละ 43.7 อยุงาน 11-20 ปี ร้อยละ 62.1 ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับบ้านพักสวัสดิการ ร้อยละ 77.7 ส่วนผลการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลการเตรียมด้านที่อยู่อาศัยหลักเกษียณ ส่วนใหญ่สาเหตุที่ไม่เตรียมที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณเพราะมีบ้านเป็นของตนเองแล้ว รองลงมา รายได้ไม่เพียงพอ และอันดับสามกลับไปอยู่บ้านพ่อแม่ ประเภทที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยว ร้อยละ 44.7 กรรมสิทธิเป็นของพ่อแม่ ร้อยละ 39.8 ทำเลที่ต้องอยู่ต่างจังหวัด ร้อยละ 57.3 ที่มาของรายได้เมื่อเกษียณส่วนใหญ่มาจากบำเหน็จ/บำนาญ ส่วนใหญ่นำไปใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายประจำยามเกษียรณ และไม่ต้องการทำงานหลังเกษียรณ ส่วนบุคคลที่ต้องการอยู่ด้วยหลังเกษียณ คือ คู่สมรสในด้านความช่วยเหลือจากรัฐ/หน่วยงาน ที่ต้องการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่มีความต้องการเหมือนกลุ่มเตรียม