Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับข้าราชการหลังเกษียณอายุในกองทัพเรือ ได้แก่ เพศ จำนวนอายุหลังเกษียณ (ช่วงอายุ60 - 65 ปี) สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา, อาชีพและรายได้ ศาสนา ประวัติโรคประจำตัวเดิมและอุบัติเหตุทางสมอง ประวัติโรคจิตเวช ประวัติโรคทางจิตเวชในครอบครัว การใช้สุรายาเสพติดการใช้ฮอร์โมนบำบัด การใช้อาหารเสริม การออกกำลังกาย การผ่าตัด การใช้ยาจิตเวชในปัจจุบันเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต การพึ่งธรรมะ การเกื้อหนุนทางสังคม ลูกหลานใส่ใจ สังคมสร้างสรรค์ จำนวนทั้งหมด 200 รูป ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและปัจจัยทางชีวจิตสังคม แบบวัดเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต แบบวัดภาวะซึมเศร้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Unpaired t - test ANOVA (F-test) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่าข้าราชการหลังเกษียณอายุในลักษณะปัญหาภาวะซึมเศร้า จำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 4.5 โดยพบกลุ่มอาการรู้สึกอ่อนเพลีย เบื่อหน่าย คิดเป็นร้อยละ 57 รองลงมา คือรู้สึกเบื่อ ไม่อยากพูดคุย ร้อยละ 56 และรู้สึกเบื่ออาหาร ร้อยละ 52 นอนไม่หลับ ร้อยละ 52คิดมากกังวล ร้อยละ 48 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าของข้าราชการหลังเกษียณอายุ คือ อาชีพผู้เลี้ยงดูออกค่าใช้จ่าย ระดับการศึกษา ภาวะหนี้สิน แอลกอฮอล์ กรดโฟลิค แป๊ะก๊วย แคลเซียมยาคลายกังวล โรคปวดเมื่อยตามตัว โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดสมอง ประวัติทางจิตเวช เมื่อจำแนกเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตช่วง 1 ปีที่ผ่านมาพบว่าด้านที่มีความเครียดของข้าราชการหลังเกษียณอายุระดับปานกลาง คือ ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านที่มีความเครียดของข้าราชการหลังเกษียณอายุระดับต่ำ คือครอบครัว การงาน