Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพื้นที่สวนเกษตรที่มีศักยภาพต่อการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมรวมทั้งศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคของสวนเกษตรที่จะมีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง การวิจัย เริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานจากแบบสอบถามเชิงทัศนคติในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นผู้ให้ค่าน้ำหนักดัชนีชี้วัด กลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มเกษตรกรเจ้าของสวนเกษตร เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอและผู้เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดระยอง เพื่อวิเคราะห์พักยภาพสวนเกษตร การวิเคราะห์ศักยภาพพื้นที่สวนเกษตรเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรมในจังหวัดระยอง จำนวน 13 แห่ง พิจารณาจากดัชนีชี้วัดศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 6 ดัชนี ซึ่งแต่ละดัชนีชี้วัดมีค่าน้ำหนักของการชี้วัดศักยภาพแตกต่างกันเรียงตามลำดับความสำคัญมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังต่อไปนี้ ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ด้านข้อจำกัดในการรองรับนักท่องเที่ยว ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสภาพการเข้าถึงและด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ในแต่ละดัชนีชี้วัดได้สร้างตัวแปรย่อยภายในดัชนีชี้วัด เพื่อคำนวณหาค่าระดับศักยภาพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม ด้วยเทคนิคการถ่วงน้ำหนัก ผลการวิเคราะห์หาค่าระดับศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม พบว่า กลุ่มพื้นที่สวนเกษตรที่มีศักยภาพสูงมีค่าคะแนนระหว่าง 72.27-86.54 จำนวน 4 แห่ง กลุ่มพื้นที่สวนเกษตรที่มีศักยภาพปานกลาง มีค่าคะแนนระหว่าง 58.00 -72.26 จำนวน 1 แห่ง และกลุ่มพื้นที่สวนเกษตรที่มีศักยภาพตํ่า มีค่าคะแนนระหว่าง 43.74 - 57.99 จำนวน 8 แห่ง สภาพปัญหาและอุปสรรคของพื้นที่สวนเกษตรที่จะมีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยว แยกตามศักยภาพของสวนเกษตรทั้ง 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มสวนเกษตรศักยภาพสูง พบว่า ยังขาดสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงเล็กน้อย กลุ่มพื้นที่สวนเกษตรศักยภาพปานกลาง พบว่า ด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ไม่มีประเพณีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรแบบดั้งเดิมเหลืออยู่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ยังขาดที่พักและร้านอาหาร-เครื่องดื่มให้บริการกับนักท่องเที่ยวการใช้ป้ายสื่อ ความหมายในการอธิบายพืชพันธุ์ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ ด้านสภาพแวดล้อม ยังมีปัญหาด้านการสร้างทัศนียภาพในพื้นที่และการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่และธรรมชาติ ด้านการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ยังขาดระบบการให้ความรู้หรือคู่มือประกอบการเที่ยวชมและให้ความรู้ทางด้านการเกษตรให้กับนักท่องเที่ยว ขาดการจัดพื้นที่สาธิตและเรือนเพาะชำให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมทำกิจกรรมทางการเกษตร รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไป กลุ่มพื้นที่สวนเกษตรพักยภาพตํ่า พบว่า ยังขาดแคลนแทบทุกด้านโดยเฉพาะด้านคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรทางด้านการเกษตรของแต่ละสวนไม่มีความโดดเด่นดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวสามารถพบเห็นได้ทั่วๆไป