Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสนใจอาชีพและความคาดหวังทางการศึกษาในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสุรนารีวิทยา, ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผลการเรียนกับความสนใจในอาชีพและความคาดหวังทางการศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัวกับความสนใจในอาชีพและความคาดหวังทางการศึกษาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายแบบการวิจัยเป็นลักษณะการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional descriptive study) โดยการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คนมีอายุเฉลี่ย 16.7 ปีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ1.แบบสอบข้อมูลทั่วไปและความคาดหวังของนักเรียน2.แบบสำรวจความสนใจในอาชีพวิเคราะหห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ, ค่ามัชฌิมเลขคณิต, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ค่าไคสแควร์และการวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้ t-test และ ANOVA ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสุรนารีวิทยาร้อยละ99.4มีความคาดหวังในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาและร้อยละ56.2มีการวางแผนประกอบอาชีพ 2. ระดับผลการเรียนของนักเรียนทีต่างกันไม่มีความแตกต่างกันในการคาดหวังศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาและการวางแผนประกอบอาชีพแต่มีความแตกต่างกันในความสนใจในอาชีพจากแบบสำรวจ VIESA 3.อาชีพของบิดามีผลต่อการวางแผนประกอบอาชีพและวุฒิการศึกษาของมารดามีผลต่อความสนใจในอาชีพจากแบบสำรวจVIESA 4.จากแบบสำรวจความสนใจในอาชีพของจอห์น แอล ฮอลแลนด์พบว่านักเรียนมีความสนใจในอาชีพงานด้านวิทยาศาสตร์มากที่สุดรองลงมาสนใจในอาชีพงานด้านสังคมและการศึกษานักเรียนมีความสนในในอาชีพงานช่างฝีมือและงานกลางแจ้งน้อยที่สุด